กระทรวงแรงงานแนะมาตรการบรรเทาปัญหาการเลิกจ้าง

งานบริหาร

ผล พวงจากวิกฤติการเงินโลก บวกกับความไม่มั่นคงทางการเมืองในบ้านเรานำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่หลาย ฝ่ายต้องเฝ้าระวัง โดยประเมินกันว่าแนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2552 นี้จะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจลดลง เหลือเพียง 1.2% การลงทุนและการบริโภคลดลง 5% อัตราการว่างงานมากถึง 0.9 – 1 ล้านคน นับเป็นแนวโน้มที่ทำให้ต้องตระเตรียมมาตรการตั้งรับกันอย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงอย่าง อุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก การผลิตอุปกรณ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง การผลิตสิ่งทอสิ่งถัก เครื่องแต่งกาย ฟอกหนังสัตว์ และรองเท้า การผลิตเครื่องจักร การผลิตเคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง และผลิตภัณฑ์พลาสติก การผลิตเครื่องเรือน เครื่องประดับ รวมถึงอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่โดนพิษจากการปิดสนามบินช่วงปลายเดือน พฤศจิกายนที่ผ่านมาเข้าอย่างจัง

ด้วยความเป็นห่วง คนทำงานและผู้ประกอบการที่จะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถอถอยเช่นนี้ JobsDB.com จึงสอบถามไปยังกระทรวงแรงงานถึงมาตรการการรับมือกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ จะส่งผลกระทบต่อการว่างงานของคนไทยในปี 2552 ทั้งนี้ นายสมชาย ชุ่มรัตน์ ปลัดกระทรวงแรงงานได้ เปิดเผยว่า ข้อมูลการเฝ้าระวังสถานการณ์การเลิกจ้างของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานใน ช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 5 มกราคม 2552 ระบุว่า มีสถานประกอบการเลิกจ้างลูกจ้างไปแล้ว 698 แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 55,549 คน และมีแนวโน้มถูกเลิกจ้างอีก 357 แห่ง เป็นจำนวน 204,264 คน

เพื่อให้การเลิกจ้างเป็นทางออกสุดท้ายของผู้ประกอบการ ท่านปลัดได้แนะแนวทางการบรรเทาปัญหาการเลิกจ้างไว้ 3 มาตรการด้วยกัน

1. มาตรการลดค่าใช้จ่ายโดยความร่วมมือของลูกจ้าง แบ่งเป็น มาตรการลดค่าใช้จ่ายด้านบริหาร ซึ่งเป็นมาตรการที่นายจ้างควรพิจารณานำมาเป็นอันดับแรก เพื่อให้ส่งผลกระทบต่อลูกจ้างน้อยที่สุดได้แก่ นโยบายประหยัดพลังงาน ลดค่าใช้จ่ายด้านการบริหาร รวมทั้งลดต้นทุนต่าง ๆ เท่าที่จำเป็น เป็นต้น

อีกทางหนึ่งคือ มาตรการลดค่าใช้จ่ายทางด้านแรงงาน โดยต้องเลือกมาตรการที่มีผลกระทบต่อลูกจ้างน้อยที่สุดมาใช้ก่อน ดังนี้

ลด หรือยกเลิกการทำงานล่วงเวลาหรือการทำงานในวันหยุด ให้ลูกจ้างใช้วันลาตามสิทธิที่มีอยู่ ให้ลูกจ้างได้สับเปลี่ยนวันหยุดโดยทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน ลดชั่วโมงการทำงานในแต่ละวันหรือลดจำนวนวันในแต่ละสัปดาห์ ให้สิทธิลูกจ้างลาหยุดโดยไม่ได้รับค่าจ้างหรือได้รับค่าจ้างบางส่วน แต่ยังคงได้รับสวัสดิการตามปกติ ลดการทำงานกะลง ลดค่าใช้จ่ายส่วนที่เป็นสวัสดิการที่มีผลกระทบต่อลูกจ้างน้อยที่สุดก่อน เช่นการจัดทัศนาจร การสังสรรค์ประจำปี เพิ่มค่าจ้างประจำปีในสัดส่วนที่น้อยลง หรือถ้าจำเป็นอาจไม่เพิ่มค่าจ้างประจำปี แต่หากยังมีความจำเป็นอยู่อีก อาจลดค่าจ้างลงโดยเริ่มจากการลดค่าจ้างของผู้ที่ได้รับค่าจ้างสูงก่อน หรือลดค่าจ้างของลูกจ้างระดับสูงในอัตราที่มากกว่าลูกจ้างระดับต่ำ

2. มาตรการปรับปรุงการบริหารงานบุคคลให้เหมาะสมกับสถานการณ์ อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนโยกย้ายหน้าที่ของลูกจ้างเพื่อวางแผนกำลังคนให้ เหมาะสมกับกำลังการผลิต มีการพัฒนาศักยภาพลูกจ้างเพื่อเพิ่มผลผลิต เพิ่มขวัญกำลังใจ และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่หน่วยงานนั้น ๆ รวมทั้งการเตรียมความพร้อมเพื่อเปลี่ยนสายงานกรณีแผนกงานเดิมอาจต้องถูกยุบ เลิก โดยผู้ประกอบการสามารถประสานกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อให้ความช่วยเหลือใน การพัฒนาฝีมือลูกจ้างได้ หรือหากมีความจำเป็นที่จะต้องเลิกจ้าง ผู้ประกอบการควรเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการหางานใหม่ โดยสนับสนุนลูกจ้างให้มีโอกาสฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมในการหางานใหม่ หรือประสานกรมจัดหางานเพื่อหาตำแหน่งงานว่างรองรับลูกจ้างที่คาดว่าจะถูก เลิกจ้าง

3. มาตรการในการลดจำนวนลูกจ้าง หาก ได้พิจารณาตามมาตรการทั้งสองประการที่กล่าวมาแล้ว แต่ยังมีความจำเป็นต้องลดจำนวนลูกจ้างลงอีก ให้พิจารณาเลิกจ้างโดยยึดหลักความเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย โดยอาจจะงดรับลูกจ้างเพิ่ม จัดโครงการเกษียณก่อนอายุที่กำหนด หรือโครงการสมัครใจลาออก โดยให้เงินช่วยเหลือตามที่ตกลงกัน ซึ่งนายจ้างจะต้องคำนึงถึงระยะเวลาให้ลูกจ้างหางานใหม่ตามสมควรด้วย และสุดท้าย หากต้องเลิกจ้างจริง ๆ ให้เลิกจ้างลูกจ้างที่เข้าทำงานหลักสุดก่อน ลูกจ้างที่มีประวัติการลาขาดงาน มาสายมาก ลูกจ้างที่ฝ่าฝืนข้อบังคับในการทำงานมากที่สุด ลูกจ้างที่มีพฤติกรรมและอุปนิสัยที่เป็นผลเสียต่อการทำงาน ลูกจ้างที่มีความสามารถและผลงานน้อยที่สุด ลูกจ้างที่ได้รับความเดือดร้อนทางครอบครัวน้อยที่สุด เป็นต้น

อย่าง ไรก็ดี หากหน่วยงานมีการชี้แจงให้พนักงานทุกคนตระหนักถึงวิกฤติการณ์ในครั้งนี้ อย่างจริงจังและร่วมมือร่วมใจกันทำงานในหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด ช่วยกันลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็น รวมถึงนายจ้างมีการบริหารจัดการด้วยความไม่ประมาทแล้วละก็ เชื่อว่าจะสามารถผ่านพ้นอุปสรรคในครั้งนี้ไปได้ในที่สุด



This entry was posted on 17:37 and is filed under . You can follow any responses to this entry through the RSS 2.0 feed. You can leave a response, or trackback from your own site.

0 comments: