กระทรวงแรงงานแนะมาตรการบรรเทาปัญหาการเลิกจ้าง

งานบริหาร

ผล พวงจากวิกฤติการเงินโลก บวกกับความไม่มั่นคงทางการเมืองในบ้านเรานำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่หลาย ฝ่ายต้องเฝ้าระวัง โดยประเมินกันว่าแนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2552 นี้จะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจลดลง เหลือเพียง 1.2% การลงทุนและการบริโภคลดลง 5% อัตราการว่างงานมากถึง 0.9 – 1 ล้านคน นับเป็นแนวโน้มที่ทำให้ต้องตระเตรียมมาตรการตั้งรับกันอย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงอย่าง อุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก การผลิตอุปกรณ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง การผลิตสิ่งทอสิ่งถัก เครื่องแต่งกาย ฟอกหนังสัตว์ และรองเท้า การผลิตเครื่องจักร การผลิตเคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง และผลิตภัณฑ์พลาสติก การผลิตเครื่องเรือน เครื่องประดับ รวมถึงอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่โดนพิษจากการปิดสนามบินช่วงปลายเดือน พฤศจิกายนที่ผ่านมาเข้าอย่างจัง

ด้วยความเป็นห่วง คนทำงานและผู้ประกอบการที่จะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถอถอยเช่นนี้ JobsDB.com จึงสอบถามไปยังกระทรวงแรงงานถึงมาตรการการรับมือกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ จะส่งผลกระทบต่อการว่างงานของคนไทยในปี 2552 ทั้งนี้ นายสมชาย ชุ่มรัตน์ ปลัดกระทรวงแรงงานได้ เปิดเผยว่า ข้อมูลการเฝ้าระวังสถานการณ์การเลิกจ้างของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานใน ช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 5 มกราคม 2552 ระบุว่า มีสถานประกอบการเลิกจ้างลูกจ้างไปแล้ว 698 แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 55,549 คน และมีแนวโน้มถูกเลิกจ้างอีก 357 แห่ง เป็นจำนวน 204,264 คน

เพื่อให้การเลิกจ้างเป็นทางออกสุดท้ายของผู้ประกอบการ ท่านปลัดได้แนะแนวทางการบรรเทาปัญหาการเลิกจ้างไว้ 3 มาตรการด้วยกัน

1. มาตรการลดค่าใช้จ่ายโดยความร่วมมือของลูกจ้าง แบ่งเป็น มาตรการลดค่าใช้จ่ายด้านบริหาร ซึ่งเป็นมาตรการที่นายจ้างควรพิจารณานำมาเป็นอันดับแรก เพื่อให้ส่งผลกระทบต่อลูกจ้างน้อยที่สุดได้แก่ นโยบายประหยัดพลังงาน ลดค่าใช้จ่ายด้านการบริหาร รวมทั้งลดต้นทุนต่าง ๆ เท่าที่จำเป็น เป็นต้น

อีกทางหนึ่งคือ มาตรการลดค่าใช้จ่ายทางด้านแรงงาน โดยต้องเลือกมาตรการที่มีผลกระทบต่อลูกจ้างน้อยที่สุดมาใช้ก่อน ดังนี้

ลด หรือยกเลิกการทำงานล่วงเวลาหรือการทำงานในวันหยุด ให้ลูกจ้างใช้วันลาตามสิทธิที่มีอยู่ ให้ลูกจ้างได้สับเปลี่ยนวันหยุดโดยทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน ลดชั่วโมงการทำงานในแต่ละวันหรือลดจำนวนวันในแต่ละสัปดาห์ ให้สิทธิลูกจ้างลาหยุดโดยไม่ได้รับค่าจ้างหรือได้รับค่าจ้างบางส่วน แต่ยังคงได้รับสวัสดิการตามปกติ ลดการทำงานกะลง ลดค่าใช้จ่ายส่วนที่เป็นสวัสดิการที่มีผลกระทบต่อลูกจ้างน้อยที่สุดก่อน เช่นการจัดทัศนาจร การสังสรรค์ประจำปี เพิ่มค่าจ้างประจำปีในสัดส่วนที่น้อยลง หรือถ้าจำเป็นอาจไม่เพิ่มค่าจ้างประจำปี แต่หากยังมีความจำเป็นอยู่อีก อาจลดค่าจ้างลงโดยเริ่มจากการลดค่าจ้างของผู้ที่ได้รับค่าจ้างสูงก่อน หรือลดค่าจ้างของลูกจ้างระดับสูงในอัตราที่มากกว่าลูกจ้างระดับต่ำ

2. มาตรการปรับปรุงการบริหารงานบุคคลให้เหมาะสมกับสถานการณ์ อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนโยกย้ายหน้าที่ของลูกจ้างเพื่อวางแผนกำลังคนให้ เหมาะสมกับกำลังการผลิต มีการพัฒนาศักยภาพลูกจ้างเพื่อเพิ่มผลผลิต เพิ่มขวัญกำลังใจ และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่หน่วยงานนั้น ๆ รวมทั้งการเตรียมความพร้อมเพื่อเปลี่ยนสายงานกรณีแผนกงานเดิมอาจต้องถูกยุบ เลิก โดยผู้ประกอบการสามารถประสานกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อให้ความช่วยเหลือใน การพัฒนาฝีมือลูกจ้างได้ หรือหากมีความจำเป็นที่จะต้องเลิกจ้าง ผู้ประกอบการควรเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการหางานใหม่ โดยสนับสนุนลูกจ้างให้มีโอกาสฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมในการหางานใหม่ หรือประสานกรมจัดหางานเพื่อหาตำแหน่งงานว่างรองรับลูกจ้างที่คาดว่าจะถูก เลิกจ้าง

3. มาตรการในการลดจำนวนลูกจ้าง หาก ได้พิจารณาตามมาตรการทั้งสองประการที่กล่าวมาแล้ว แต่ยังมีความจำเป็นต้องลดจำนวนลูกจ้างลงอีก ให้พิจารณาเลิกจ้างโดยยึดหลักความเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย โดยอาจจะงดรับลูกจ้างเพิ่ม จัดโครงการเกษียณก่อนอายุที่กำหนด หรือโครงการสมัครใจลาออก โดยให้เงินช่วยเหลือตามที่ตกลงกัน ซึ่งนายจ้างจะต้องคำนึงถึงระยะเวลาให้ลูกจ้างหางานใหม่ตามสมควรด้วย และสุดท้าย หากต้องเลิกจ้างจริง ๆ ให้เลิกจ้างลูกจ้างที่เข้าทำงานหลักสุดก่อน ลูกจ้างที่มีประวัติการลาขาดงาน มาสายมาก ลูกจ้างที่ฝ่าฝืนข้อบังคับในการทำงานมากที่สุด ลูกจ้างที่มีพฤติกรรมและอุปนิสัยที่เป็นผลเสียต่อการทำงาน ลูกจ้างที่มีความสามารถและผลงานน้อยที่สุด ลูกจ้างที่ได้รับความเดือดร้อนทางครอบครัวน้อยที่สุด เป็นต้น

อย่าง ไรก็ดี หากหน่วยงานมีการชี้แจงให้พนักงานทุกคนตระหนักถึงวิกฤติการณ์ในครั้งนี้ อย่างจริงจังและร่วมมือร่วมใจกันทำงานในหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด ช่วยกันลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็น รวมถึงนายจ้างมีการบริหารจัดการด้วยความไม่ประมาทแล้วละก็ เชื่อว่าจะสามารถผ่านพ้นอุปสรรคในครั้งนี้ไปได้ในที่สุด



S-M-I-L-E ไม่ใช่แค่ยิ้ม

พนักงานบริการลูกค้า

ใน งานบริการ สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่พนักงานบริการทุกคนถูกฝึกมา คือให้ยิ้มแย้มกับลูกค้า ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ให้ยิ้มไว้แล้วจะดีเอง วันนี้เราจึงขอนำเสนอหลักในการบริการที่จะทำให้คุณจดจำได้อย่างง่าย ๆ ด้วยความว่า S-M-I-L-E ที่ไม่ใช่แค่ยิ้ม มาติดตามพร้อมกันเลยนะคะ


S = Stress Tolerance

คุณ ต้องมีความอดทน อดกลั้นเมื่อเผชิญกับสภาวะความเครียดที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะมาจากหัวหน้างานของ คุณ เพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง ลักษณะงาน หรือลูกค้า เช่น หากคุณไม่พอใจที่หัวหน้างานพูดจาไม่รู้เรื่องเวลามอบหมายงาน ซึ่งความโกรธหรือความไม่พอใจเหล่านี้เองที่คุณควรเก็บความรู้สึกนี้ไว้ โดยไม่ควรระบายอารมณ์กับลูกค้าเมื่อมีลูกค้ามาสอบถามรายละเอียดบางอย่างจาก คุณ แต่คุณควรแสดงสีหน้า กิริยาท่าทางที่ยิ้มแย้มแจ่มใสเสมอเมื่อพบลูกค้า

M = Motivation

เริ่ม จากการที่คุณมีหัวใจหรือความต้องการที่จะปรับพฤติกรรมของตนเอง ให้มีพฤติกรรมหรือความสามารถจิตสำนึกในการให้บริการ ซึ่งคุณจะต้องมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์เพื่อให้ผลงานของตนเองได้รับการยอมรับ และนำไปปฏิบัติได้ ทั้งนี้แรงจูงใจนี้เองจะทำให้คุณมีความพร้อมเสมอที่จะให้บริการแก่ลูกค้า พร้อมอาสาช่วยเหลือลูกค้าในสถานการณ์ต่าง ๆ

I = Integrity

คุณ ต้องมีความซื่อสัตย์ต่องานหรืออาชีพของคุณเอง โดยการให้ข้อมูลทั้งด้านบวกและด้านลบจากการใช้สินค้าหรือบริการจากคุณ มิใช่ว่าจะให้เพียงแต่ข้อมูลด้านบวกหรือที่เป็นประโยชน์เพียงอย่างเดียวเท่า นั้น การให้ข้อมูลทั้งสองแง่มุมนี้จะให้ลูกค้ามีทางเลือกที่จะตัดสินใจเลือก บริการที่ดีที่สุดและเหมาะสมกับลูกค้ามากที่สุด และคุณรู้ไหมว่าลูกค้าบางรายอาจตัดสินใจใช้สินค้าและบริการจากคุณเนื่องจาก พวกเขาพอใจที่ได้รับข้อมูลด้านลบจากคุณก็เป็นได้

L = Listening

คุณ ควรรับฟังปัญหาหรือข้อร้องเรียนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากลูกค้าอย่างเต็มใจ ไม่ตีโพยตีพายหรือแสดงสีหน้าและกิริยาท่าทางแบบไม่พอใจลูกค้า ขอให้คุณรับฟังและพร้อมที่จะให้ข้อมูลหรือเหตุผล กรณีที่ลูกค้าไม่พอใจในสินค้าหรือบริการต่าง ๆ และหากสถานการณ์ระหว่างคุณกับลูกค้ายังไม่ดีขึ้น ขอให้คุณแสดงให้ลูกค้าเห็นว่าคุณรู้สึกเสียใจและจะไม่มีเหตุการณ์เช่นนี้ เกิดขึ้นในคราวต่อไป บางครั้งการยอมรับในปัญหานั้น ๆ ทั้ง ๆ ที่ตนเองไม่ใช่ผู้ผิด อาจเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่จะยุติปัญหาที่เกิดขึ้น

E = Energetic

ความ กระตือรือร้นจะทำให้คุณแสวงหาวิธีการหรือเทคนิคในการให้บริการแก่ลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าได้รับสินค้าและบริการที่ดีที่สุด รวมไปถึงจะทำให้คุณขวนขวายที่จะเรียนรู้ระบบงานหรือขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ อยู่เสมอเพื่อว่าคุณจะได้มีข้อมูลที่พร้อมและถูกต้องเมื่อลูกค้ามาสอบถามราย ละเอียดต่าง ๆ จากคุณ

ด้วยหลัก S-M-I-L-E นี้จะทำให้คุณเป็นผู้ที่ลูกค้ากล่าวถึงในทางที่ดี ชอบและพอใจที่จะมาพบคุณ ลูกค้าพร้อมที่จะมาใช้สินค้าและบริการจากคุณ และระดับความพึงพอใจนี้เองที่หลาย ๆ องค์การได้นำมาเป็นตัวชี้วัด ผลการทำงานตัวหนึ่งที่จะสะท้อนถึงผลการปฏิบัติงานของคุณ



ที่มา : http://hospital.moph.go.th




1. อยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการเพิ่มศักยภาพผู้ว่างงานเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมในชุมชน ว่ามีรายละเอียดอย่างไร
ตอบ ดูได้จากหน้าแรกของเว็บไซต์ http://www.tonkla-archeep.com หัวข้อ รายละเอียดโครงการเพิ่มศักยภาพผู้ว่างงานเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมในชุมชน
2. ผู้ที่สามารถสมัครฝึกอบรมตามโครงการฯ ได้ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
ตอบ

1. เป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย

2. มีอายุ 18-60 ปี นับถึงวันสมัครฝึกอบรม

3. เป็นผู้ว่างงานตามรายละเอียดของโครงการฯ ดังนี้

3.1 ผู้ว่างงานที่สนใจฝึกอบรมอาชีพ รวมทั้งประชาชนผู้สนใจเข้ารับการอบรม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำความรู้กลับไปใช้หมู่บ้านชุมชนท้องถิ่น

3.2 ผู้ถูกเลิกจ้างแรงงานจากภาคอุตสาหกรรมและประสงค์จะเพิ่มพูนทักษะมากขึ้นและ หลากหลาย เพื่อพัฒนาและยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงานของตนเอง

3.3 ผู้สำเร็จการศึกษา ให้มีความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงานอย่างมีคุณภาพ

3. ถ้าสนใจสมัครเข้าฝึกอบรมจะต้องทำอย่างไร
ตอบ สามารถสมัครผ่าน Internet ได้ที่เว็บไซต์ http://www.tonkla-archeep.com หรือสมัครผ่านจุดฝึกอบรมต่างๆ ทั่วประเทศ
4. เปิดรับสมัครเมื่อไหร่

ตอบ

โครงการฯจะจัดให้มีการลงทะเบียนเข้ารับการฝึกอบรมทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง ครั้งละไม่น้อยกว่า 7 วัน

ในการลงทะเบียนเข้ารับการฝึกอบรม ผู้สมัครสามารถเลือกหลักสูตรฝึกอบรมได้ไม่เกิน 5 หลักสูตร

ใน แต่ละเดือนระบบสารสนเทศของโครงการฯจะทำการสุ่มคัดเลือกผู้เข้าฝึกอบรมในแต่ ละหลักสูตรและช่วงเวลาของหลักสูตรที่ผู้สมัครได้ทำการเลือกไว้

ตลอด ระยะเวลาของโครงการฯ ผู้สมัครเข้าฝึกอบรมหนึ่งคนจะมีสิทธิ์ได้เข้าฝึกอบรมเพียงหนึ่งหลักสูตรเท่า นั้น เมื่อการสุ่มคัดเลือกผ่านช่วงเวลาของหลักสูตรที่ผู้สมัครทำการเลือกไว้ไป แล้ว

ผู้สมัครที่ยังไม่ได้รับการคัดเลือก เข้าอบรมสามารถสมัครเข้ามาเลือกหลักสูตรฝึกอบรมใหม่ได้อีกเมื่อโครงการฯ ประกาศเพิ่มเติมหลักสูตรใหม่

หลักสูตรที่ ประกาศใช้ในการรับลงทะเบียนในเดือนมี.ค. 52 นี้ เป็นหลักสูตรที่ใช้ฝึกอบรมเดือนเม.ย. พ.ค. และ มิ.ย. 52 กำหนดรับลงทะเบียนมีดังนี้

วัน-เดือน
รายการ
ครั้งที่๑
18-31 มี.ค. 52
18-24 มี.ค. 52 จัดให้มีการลงทะเบียนรับสมัคร (Key in) ทั่วประเทศ 7 วัน
25 มี.ค. 52 คัดเลือกผู้เข้าฝึกอบรมโดยวิธีสุ่ม
26 มี.ค. 52 ประกาศรายชื่อผู้เข้าฝึกอบรม (พร้อมชื่อผู้สำรอง) ทาง e-mail, internet, SMS และประกาศติดที่สถานที่ฝึกอบรมและสถานที่ราชการที่เกี่ยวข้อง
27-29 มี.ค. 52 ผู้ฝึกอบรมรายงานตัวที่สถานที่ฝึกพร้อมแสดงบัตรประจำตัวประชาชน
30 มี.ค. 52 ประกาศรายชื่อให้ผู้ได้สำรองไปรายงานตัว
30-31 มี.ค. 52 ผู้ได้สำรองรายงานตัวที่สถานที่ฝึกพร้อมแสดงบัตรประจำตัวประชาชน
1 เม.ย.52 เริ่มฝึกอบรม

ครั้งที่ 2

ติดตามกำหนดการครั้งต่อไปได้จากเว็บไซต์ http://www.tonkla-archeep.com ในเดือนเมษายน 52

5. ผู้สมัครฝึกอบรม สามารถสมัครฝึกอบรมได้กี่รอบ
ตอบ ผู้ สมัครสามารถสมัครฝึกอบรมได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น โดยหากไม่ได้รับคัดเลือกเข้าฝึกอบรมในครั้งแรก ผู้สมัครสามารถเข้ามาเปลี่ยนแปลงหลักสูตรฝึกอบรมที่เลือกไว้ได้
6. หลักสูตรที่จะเปิดฝึกอบรมมีหลักสูตรใดบ้าง
ตอบ ดูรายละเอียดได้ที่ ปุ่มตรวจสอบหลักสูตรฝึกอบรม
7. มีข้อแนะนำในการเลือกหลักสูตรฝึกอบรมอย่างไรและมีหลักเกณฑ์อย่างไร

ตอบ

1. ควรเลือกหลักสูตรที่ตรงกับพื้นฐานอาชีพหรือตรงกับพื้นฐานความรู้ของท่าน

2. การเลือกหลักสูตรเฉพาะทางที่เป็นเชิงเทคนิคมาก ผู้สมัครฝึกอบรมควรมีความรู้พื้นฐานมาบ้าง

เกณฑ์ในการเลือกหลักสูตร

1. หลักสูตรที่ท่านเลือก จะต้องมีลู่ทางในการประกอบอาชีพตรงตามที่ท่านสนใจจะไปประกอบอาชีพในอนาคตหลังจากจบหลักสูตร

2. หลักสูตรที่ท่านเลือก จะต้องมีจุดฝึกอบรมอยู่ในจังหวัดตามที่อยู่ปัจจุบันหรือตามภูมิลำเนาของท่าน

8. ผู้สมัครฝึกอบรมสามารถเลือกหลักสูตรฝึกอบรมได้กี่หลักสูตร

ตอบ ผู้สมัครฝึกอบรมสามารถเลือกหลักสูตรฝึกอบรมได้ 5 หลักสูตร ที่ตรงตามเกณฑ์ในการเลือกหลักสูตร ข้อ 1 และข้อ 2 ในคำตอบข้อ 7

(โดย ผู้สมัครฝึกอบรมสามารถเลือกหลักสูตรที่ต้องการเข้าฝึกอบรมเป็นชื่อหลักสูตร เดียวกันทั้ง 5 หลักสูตรได้แต่ต้องเป็นหลักสูตรที่มีการจัดฝึกอบรมคนละรุ่น)

และ หากได้รับคัดเลือกเข้าฝึกอบรม ผู้สมัครจะได้รับคัดเลือกให้เข้าฝึกอบรมเพียงหลักสูตรเดียวเท่านั้นจากหลัก สูตรใดหลักสูตรหนึ่งที่ได้เลือกไว้

9. โครงการฯ มีเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้สมัครฝึกอบรมอย่างไร
ตอบ จะทำการสุ่มจำนวนผู้สมัครฝึกอบรมทั้งหมดที่สมัครในแต่ละรอบมาฝึกอบรม
10. ผู้สมัครสามารถติดตามผลการคัดเลือกเข้าฝึกอบรมได้ที่ไหน เมื่อไหร่
ตอบ สามารถติดตามผลการคัดเลือกเข้าฝึกอบรมได้จากเว็บไซต์ http://www.tonkla-archeep.com ตามกำหนดการดังนี้

รอบที่ 1 รับสมัคร 18-24 มี.ค. 52 ประกาศผลผู้ได้รับคัดเลือก 26 มี.ค. 2552

การเปิดรับสมัครครั้งต่อไปให้ติดตามข่าวสารที่ http://www.tonkla-archeep.com ในเดือนเมษายน 2552

11. หากดูประกาศผลผู้ได้รับคัดเลือกเข้าฝึกอบรมแล้ว ได้รับคัดเลือกจะต้องไปรายงานตัวที่ใดและใช้หลักฐานอะไรบ้าง
ตอบ สามารถไปรายงานตัวได้ที่จุดฝึกอบรมของหลักสูตรที่ผู้สมัครได้รับคัดเลือกในวันที่ 27-29 มี.ค. 52 โดยนำบัตรประจำตัวประชาชนไปแสดง
12. หากมีการสมัครไปแล้วและได้กรอกข้อมูลผิดพลาด หรือ ต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนตัว สามารถแจ้งแก้ไขได้ที่ใด
ตอบ โครงการฯ จะทำการแก้ไขข้อมูลให้เฉพาะผู้สมัครฝึกอบรมที่ได้รับคัดเลือกเข้าฝึกอบรม แล้วเท่านั้นโดยสามารถแจ้งแก้ไขได้ที่สถาบันฝึกอบรมที่ท่านได้รับคัดเลือก เข้าฝึกอบรม


การแข่งขันในตลาดแรงงานปัจจุบันมีความเข้มข้นขึ้นทุกวัน คนเก่งเท่านั้นที่จะได้โอกาสเติมเต็มตำแหน่งงานว่างในบริษัทที่มีชื่อเสียงและมีความมั่นคง พูดอย่างนี้หลายคนอาจจะท้อใจว่า ถ้าเรียนไม่เก่ง เกรดไม่ดีก็จะหางานทำ ไม่ได้ใช่ไหม ความจริงคำว่า คนเก่ง ไม่ได้หมายถึง คนที่เรียนเก่งเท่านั้น เพราะคนที่เรียนเก่งอาจไม่สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ คนที่นายจ้างต้องการจะต้องเก่งในเรื่องอื่น ๆ ด้วย อยากทราบแล้วใช่ไหมว่าการเป็น คนเก่ง นั้นจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

บุคลิกดี

First Impression ก็เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้คุณได้งานหรือไม่ บุคลิกดี ไม่จำเป็นต้องสวย หล่อ เพียงแค่เป็นตัวของตัวเอง เป็นธรรมชาติ เป็นคนมีความมั่นใจในแบบฉบับของตัวเอง พูดจาฉะฉาน ฉลาดที่จะพูด คนที่มีบุคลิกดี ย่อมเด่นสะดุดตานายจ้าง และโอกาสที่คุณจะได้งานที่คุณสมัครนั้นก็มีสูงด้วย
ไหวพริบดี แก้ปัญหาไว


ใน ชีวิตเราย่อมต้องมีปัญหาผ่านเข้ามาให้เราได้แก้ไขและเรียนรู้ การฝึกคิดแก้ปัญหาบ่อย ๆ จะทำให้เรารู้เท่าทันปัญหา และสามารถหาทางแก้ไขได้อย่างรวดเร็วทันการณ์ และเมื่อเราได้โอกาสในการสัมภาษณ์งาน ก็ควรจะบอกให้นายจ้างทราบในประเด็นนี้ด้วย ว่าเราเคยมีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาที่น่าสนใจอย่างไรบ้าง เมื่อนายจ้างเห็นว่าคุณเป็นคนมีไหวพริบในการแก้ปัญหา คุณก็จะโดดเด่นขึ้นอันดับในใจของเขาแล้ว เพราะหากเขารับคุณเข้าทำงาน เขาสามารถมั่นใจได้ว่าคุณแก้ปัญหาเองเป็น โดยไม่ต้องแบกปัญหามาให้เขาแก้ไขให้ตลอดเวลา

มนุษย์สัมพันธ์ดี


ใคร ๆ ก็ชอบคนที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี เข้ากับคนอื่น ๆ ได้ง่าย ปรับตัวได้ง่าย เพราะในการทำงานนั้น เราไม่อาจทำงานได้เพียงลำพัง จำเป็นต้องอาศัยหลาย ๆ ฝ่ายร่วมกัน ดังนั้นคนที่จะทำงานกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น จำเป็นต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีด้วย

ใช้คอมพิวเตอร์เป็น


ด้วย ความที่โลกของเราก้าวหน้าไปมาก จะมัวแต่นั่งพิมพ์ดีดอยู่ก็คงจะไม่ทันคนอื่น เพราะคอมพิวเตอร์ช่วยให้การทำงานเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว คนทำงานสมัยใหม่จึงต้องมีความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมพื้นฐาน อย่างเช่น ไมโครซอฟท์ออฟฟิศ สำหรับการใช้งานสำนักงาน หรือหากต้องติดต่อลูกค้าก็จำเป็นต้องรับ-ส่งอีเมลได้ เป็นต้น

กระตือรือร้นในการทำงาน


นาย จ้างชอบคนมีไฟ มีพลังในการทำงาน ดังนั้นคุณต้องแสดงให้นายจ้างเห็นถึงความปรารถนาที่จะทำงานในหน่วยงานของเขา และพร้อมที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ให้กับบริษัทของเขา พาให้หน่วยงานของเขาก้าวหน้า ด้วยแผนงานใหม่ ๆ ที่คุณคิดขึ้นเพื่อให้บริษัทพัฒนาขึ้นเสมอ ๆ

มีวินัย


ความตรงต่อเวลาแสดงถึงความมีวินัยของบุคคลนั้น ความรับผิดชอบในหน้าที่การงานที่ได้รับมอบหมายเป็นอย่างดี การมาทำงานตรงเวลา ส่งงานตรงเวลา จะทำให้การดำเนินการไม่สะดุดติดขัด หรือเสียจังหวะในการส่ง-รับไม้ในขั้นตอนต่าง ๆ งานก็จะสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ไม่มีการเอาเปรียบหรือกินแรงใคร

อดทนต่อความเหนื่อยยาก


คน ที่หนักเอาเบาสู้ ไม่กลัวความลำบากย่อมจะสามารถฝ่าฟันอุปสรรคได้ดีกว่าคนที่ยอมแพ้และถอดใจ ง่าย ๆ คนเราถ้ากลัวความลำบากก็ไม่มีวันประสบความสำเร็จได้ คนที่มีความอดทนย่อมเป็นที่หมายปองของบริษัท เพราะเขาสามารถมั่นใจได้ว่า คนที่มีความอดทนจะไม่ทิ้งงานไปกลางคันหรือทำให้เขาได้รับความเดือนร้อนเสียหายอย่างแน่นอน

รู้จักบริหารข้อมูล


คนที่รู้จักบริหารข้อมูล ก็จะรู้ว่าข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องไหนควรจะเก็บไว้ที่ใด เรื่องไหนควรจะทิ้งไปบ้าง เวลาเจ้านายเรียกหาข้อมูลเรื่องไหนจะได้ค้นได้สะดวก รวดเร็วทันใจ แถมบนโต๊ะยังดูสะอาดตา เป็นระเบียบเรียบร้อยอีกด้วย

รู้ลึกในงานที่ทำ


ความ รู้เฉพาะด้านเป็นสิ่งที่จำเป็น การรู้ลึกรู้จริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ทำให้คุณได้เปรียบกว่าคนอื่น ๆ แล้ว ตอนที่คุณเรียน คุณอาจรู้แค่พื้นฐาน แต่หากคุณได้ลองศึกษาเพิ่มเติมก่อนสมัครงาน เช่น ค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต หรือหาซื้อหนังสือดี ๆ มาอ่านสักเล่ม คุณก็จะมีความรู้มากกว่าคนอื่น ๆ แล้ว ซึ่งจะทำให้คุณได้เปรียบ และมีโอกาสได้งานมากกว่า

รู้หลายภาษาย่อมได้เปรียบ


ภาษา อังกฤษเป็นสิ่งสำคัญในการทำงาน โดยเฉพาะบริษัทต่างชาติ หรือบริษัทที่ต้องติดต่อกับชาวต่างชาติ แต่ในบ้านเราก็ไม่ได้มีบริษัทต่างชาติเฉพาะที่ใช้ภาษาอังกฤษเท่านั้น บริษัทของจีน ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมันก็มีมาก หรือแม้จะทำงานในบริษัทฝรั่งหรือบริษัทคนไทย ก็อาจต้องติดต่อกับคนต่างชาติจากประเทศเหล่านั้น การมีความรู้หลาย ๆ ภาษาจะช่วยให้คุณมีตัวเลือกมากขึ้น

ทันโลกทันเหตุการณ์


ติดตาม ข้อมูลข่าวสารอยู่เสมอเพื่อให้คุณเป็นคนที่ทันสมัย คิดงานและนำเสนอผลงานได้เหมาะสมกับยุคสมัย ไม่ล้าหลัง ตกยุค และการรู้ความเคลื่อนไหวของเรื่องต่าง ๆ ยังทำให้คุณเข้ากับเพื่อนฝูงได้ง่าย คุยกันรู้เรื่อง นอกจากนั้น การคุยกันยังทำให้คุณได้รู้จักพูด รู้จักคิดมากขึ้น และที่สำคัญ ทำให้รู้จัก รู้นิสัยใจคอฝ่ายตรงกันข้ามดีขึ้นอีกด้วย


หาก คุณอยากเป็นคนเก่งในสายตานายจ้าง ลองปรับเปลี่ยนตนเองตามคำแนะนำข้างต้นกันดูนะคะ ทุกข้อที่กล่าวมาไม่ยากเกินความตั้งใจจริงของคุณอย่างแน่นอน


พนักงานขายที่ดีไม่ใช่คนที่กดดันคุณจนคุณต้องยอมซื้อสินค้านั้นในที่สุด แต่เป็นคนที่พยายาม
ทำความเข้าใจกับความต้องการของคุณ และอธิบายให้คุณเห็นถึงคุณสมบัติของสินค้าที่ตอบโจทย์ตรงกับ
ความต้องการของคุณ พวกเขาไม่ใช่คนที่ต้องการเงินจากคุณ แต่เป็นคนที่จะให้ความพึงพอใจกับคุณ
ต่างหาก


ในการสมัครงานก็เช่นกัน เมื่อสิ่งที่ต้องการจะขายนั้นคือ ตัวของคุณเอง กระบวนการสัมภาษณ์งานก็ เป็นการขายประเภทหนึ่ง ถ้าคุณไม่ได้เตรียมตัวมาเป็นอย่างดี คุณก็ไม่สามารถทำให้ผู้สัมภาษณ์เห็นถึงคุณสมบัติและข้อดีที่คุณมีได้ ซึ่งนั่นหมายความว่า คุณไม่สามารถจูงใจให้เขา “ซื้อ” สินค้าที่คุณนำเสนอได้


ผู้สมัครงานจำนวนมากไม่ได้เตรียมตัวสำหรับการพรีเซนต์ตัวเองมากพอ ถึงแม้ว่าการเขียนเรซูเม่ของเขาจะดูน่าสนใจ และแม้ว่าเขาแต่งกายดูดีน่าประทับใจ แต่ถ้าเขาไม่สามารถโน้มน้าวผู้สัมภาษณ์ให้เชื่อว่าเขาคือคนที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานนั้นมากที่สุดแล้วล่ะก็ เขาก็ไม่สามารถปิดการขายได้


ข้อมูล เกี่ยวกับตัวคุณที่ต้องเตรียม ได้แก่ ประวัติการทำงาน ทั้งงานเต็มเวลา งานล่วงเวลา และงานที่ทำในช่วงปิดเทอม ประวัติการทำงานอาสาสมัครหลังเลิกงานหรือในเวลาว่าง ประวัติการศึกษา ประวัติการทำกิจกรรม ประวัติการรับรางวัลต่าง ๆ ประวัติการเกณฑ์ทหารในกรณีที่คุณเป็นผู้ชาย ความสามารถทางภาษา และความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์


เมื่อคุณเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับตัวเองพร้อมแล้ว สิ่งต่อไปที่ผู้สัมภาษณ์ต้องการทราบก็คือ ทัศนคติของคุณ โดยคุณต้องเตรียมตัวสำหรับการตอบคำถามต่อไปนี้ด้วย


1. ความสำเร็จใดที่คุณภาคภูมิใจมากที่สุด เพราะอะไร

2. เคยทำสิ่งผิดพลาดหรือไม่ เกิดอะไรขึ้น และคุณได้เรียนรู้อะไรจากบทเรียนครั้งนั้น

3. คุณมีปฏิกิริยาต่อผู้มีอำนาจเหนือกว่าคุณอย่างไร ในที่นี้รวมถึง เจ้านาย ครูอาจารย์ และพ่อแม่ของคุณด้วย

4. กีฬาที่คุณชื่นชอบคืออะไร ทำไมคุณถึงชอบกีฬาชนิดนั้น คำตอบของคุณจะสะท้อนความเป็นตัวคุณออกมาว่าคุณเป็นคนที่ชอบเอาชนะ หรือเป็นคนที่ยอมแพ้อะไรง่าย ๆ คุณเป็นผู้แพ้ที่ดี หรือเป็นผู้ชนะที่แย่

5. เพื่อน ๆ ของคุณเป็นคนแบบไหน คุณคบเฉพาะเพื่อนที่มีนิสัยคล้ายกับคุณหรือว่า คุณชอบคบกับคนหลาย ๆ แบบ มีอะไรบ้างที่สามารถบั่นทอนความสัมพันธ์ของคุณกับเพื่อน หรือสิ่งที่จะทำให้คุณเลิกคบกับเพื่อนได้


6. ถ้าถามเพื่อนของคุณ หรือคนที่คุ้นเคยกับคุณ ให้บอกถึงความเป็นคุณ พวกเขาจะบอกว่าคุณเป็นคนอย่างไร


คำตอบของคำถามเหล่านี้จะสามารถบ่งบอกความเป็นตัวคุณได้เป็นอย่างดี ยิ่งคุณรู้จักตัวเองดีเท่าไร คุณจะสามารถนำเสนอจุดเด่นที่ตรงกับความต้องการของผู้สัมภาษณ์ได้มากเท่านั้น ดังนั้น ทำความรู้จักกับตัวเองให้มาก แล้วเตรียมคำตอบสำหรับคำถามที่ตอบยากเอาไว้ให้พร้อม ลองคิดถึงคำตอบแล้วมองย้อนกลับว่า ถ้าคุณเป็นผู้สัมภาษณ์คุณจะรู้สึกอย่างไรกับคำตอบนั้น เขาจะมองว่าคุณเป็นคนเช่นไร ใช่คนที่เขาต้องการหรือไม่ เพื่อที่คุณจะสามารถพรีเซนต์ตัวเองได้ตรงใจนายจ้างมากที่สุดนั่นเอง


ณรู้สึกเบื่องาน หรือเกลียดงานที่คุณทำอยู่ทุกวันหรือไม่??


ถ้าใช่....แล้วทำไมคุณถึงยังทนอยู่กับงานนั้น??


หลายคนที่ต้องอดทนกับงานที่ตัวเองเกลียด ด้วยเหตุผลที่ว่า เศรษฐกิจแบบนี้ มีงานทำดีกว่าตกงาน ถึงคุณจะเบื่อ ไม่พอใจ หรือกลัวที่จะออกจากงานก็ตาม คุณก็ต้องจำทนอยู่กับมันต่อไป
ต่อไปนี้เป็น 7 แนวคิดที่คุณจะหลุดพ้นจากความเบื่อหน่าย ทำงานที่คุณเกลียดด้วยความรู้สึก
ที่ดีขึ้น

1. อยู่กับความเป็นจริง

คุณไม่ควรออกจากงานถ้าคุณยังหางานใหม่ไม่ได้ เพราะอย่างน้อยคุณก็ยังมีงานทำ แม้ว่าคุณจะเกลียดมันก็ตาม อย่าคิดว่าคุณไม่มีทางเลือก ถ้าคุณยังไม่ได้ลงมือค้นหาหนทางใหม่ ๆ

2. เปลี่ยนทัศนคติ

หัน มามองงานของคุณในแง่ดี และนึกถึงข้อดีของงาน เช่น งานนี้ทำให้คุณมีโอกาสได้พบกับคนมากมาย และเป็นโอกาสอันดีที่คุณจะได้เพิ่มพูนทักษะต่าง ๆ มองที่โอกาสก้าวหน้า และมองไปที่อนาคต ดีกว่ามองว่า มันคืออุปสรรคปัญหา ที่กีดขวางความก้าวหน้าของคุณ

3. ค้นหาโอกาสที่ซ่อนอยู่

ถ้า มีงานบางอย่างที่คุณชอบทำมากกว่า และที่สำคัญคุณสามารถทำมันได้ดีด้วย นำเสนอตัวคุณด้วยความมั่นใจว่าคุณสามารถทำได้ดีกว่าคนอื่น ๆ นี่เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับตัวคุณได้ทำงานที่ท้าทายกว่าที่เป็นอยู่

4. หาให้เจอว่าคุณเกลียดอะไร

เมื่อ คุณรู้สึกเกลียดงานของคุณเสียเหลือเกิน คุณต้องตอบตัวเองให้ได้ว่าทำไมคุณถึงเกลียดงานนั้น หาสาเหตุที่แท้จริง เพื่อแก้ไขให้ตรงจุด แล้วคุณก็จะไม่ต้องวนเวียนอยู่ในวังวนเช่นเดิมอีก

5. ค้นหาสิ่งที่คุณชอบในสิ่งที่คุณเกลียด

แม้ ว่าตอนนี้คุณจะรู้สึกเกลียดงานของคุณ แต่เชื่อว่าคุณไม่น่าจะเกลียดงานทั้งหมด น่าจะมีบางอย่างที่คุณชอบทำอยู่บ้าง หรืออย่างน้อยคุณก็ต้องเคยชอบมันมาก่อน ไม่อย่างนั้นคุณคงไม่ตัดสินใจทำงานนี้ตั้งแต่แรกหรอกจริงไหม

6. ศึกษาจากคนที่ทำงานแบบคุณ

อาจไม่ใช่เพียงคุณคนเดียวที่เกลียดงานที่ทำ และคุณอาจไม่ใช่คนแรกที่รู้สึกเช่นนี้ การได้พูดคุยกับคนที่ทำงานแบบคุณ อาจทำให้คุณพบแนวคิดที่เป็นประโยชน์ในการทำงาน ซึ่งทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้

7. หาโอกาสทำในสิ่งใหม่ ๆ และท้าทายกว่าเดิม

คุณอาจต้องการเปลี่ยนงานเพราะรู้สึกว่างานที่คุณทำอยู่ไม่มีอะไรท้าทายคุณอีกแล้ว ลองหาโอกาสฝึกฝนทักษะใหม่ ๆ ด้วยตัวเองเรียนรู้เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่คุณชอบ พบปะผู้คนใหม่ ๆ หรือหาสิ่งที่ท้าทายให้ตัวเองได้เปลี่ยนบรรยากาศ เช่น อาสาช่วยงานในส่วนอื่นที่คุณสนใจ อาจช่วยให้คุณไม่จมอยู่กับความรู้สึกเกลียดงานได้ เพราะอย่างน้อยคุณก็ยังมีอย่างอื่นให้คิด ให้ทำอีกตั้งเยอะ


เห็นไหมว่าคุณไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนงาน แต่คุณก็ยังสามารถมีความสุขกับสิ่งที่เป็นอยู่ได้ ลองนำไปปรับใช้ดูนะครับ


คนจะเก่งหรือไม่เก่งนั้น อยู่ที่ "ทัศนคติ" ของแต่ละคน เวลาเจอโจทย์อะไรสักอย่าง บางคนบอกตัวเองว่าเราไม่เก่ง ทำไม่ได้หรอก มองไปก็เจอแต่ปัญหา อย่างนี้เรียกว่า "ปิดประตูความสำเร็จ" ตั้งแต่ยังไม่เริ่มต้นแต่คนเก่ง จะมีลักษณะบางอย่าง ที่แตกต่างจากคนไม่เก่ง ไม่ใช่ว่าเพราะเก่งเลยทำได้ เพราะไม่เก่งเลยทำไม่ได้


แต่มันคือ "ทัศนคติ" ที่แตกต่างกัน


ที่ญี่ปุ่นมีชั่วโมงเรียนวิ่งมาราธอน เด็กนักเรียนต้องวิ่งทางไกลระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร พวกที่เป็นนักกีฬา หรือเล่นกีฬาอยู่เป็นประจำ จะวิ่งได้ไม่เหนื่อย ในขณะที่อีกกลุ่มเป็นแบบวิ่งสั้น ๆ ได้ แต่ไกล ๆ ไม่ไหว กับอีกกลุ่มสุดท้าย คือ พวกวิ่งเหยาะ ๆ ให้มันหมดชั่วโมงไปด้วยความเบื่อหน่ายหากเปรียบเทียบกับการทำงานจะพบว่าในทุกองค์กรจะมีคนทั้ง 3 กุล่มอยู่ร่วมกัน ถึงแม้จะพยายามคัดแต่หัวกะทิมาแล้วก็ตาม ในกลุ่มคนเก่งด้วยกัน ก็ยังสามารถแบ่งได้อีก 3 กลุ่ม คือ

  • กลุ่มคนที่เก่ง มุ่งมั่นที่จะทำให้สำเร็จ
  • กลุ่มคนที่มีความสามารถปานกลาง ให้ทำก็ทำ และทำเท่าที่ทำได้
  • กลุ่มคนที่เป็นพวกอิดออด ไม่ยอมทำ และคิดว่าตัวเองทำไม่ได้


หากลองตั้งคำถามว่า คนเก่งทำไมถึงขยัน และคนไม่เก่งทำไมถึงอิดออด


เพราะคนเก่งหรือคนที่มีศักยภาพสูง จะมีความรู้สึกโดยธรรมชาติต่อสิ่งต่าง ๆ ว่า "น่าจะทำได้" ความรู้สึกเช่นนี้จะเป็นตัวผลักดันให้เกิดความมุมานะ อยากลองทำ คนที่รู้สึกว่าทำได้จึงมีความพยายามมากกว่าคนที่ไม่มีความรู้สึกนี้


ส่วนคนที่ไม่เก่ง เป็นเพราะบอกตัวเองอยู่ตลอดเวลาว่าไม่เก่ง จึงไม่เกิดแรงผลักดันให้มุมานะ หรือพยายามทำให้สำเร็จ


เมื่อไรก็ตามที่คนไม่เก่งเปลี่ยนความคิด ก็สามารถประสบความสำเร็จได้เช่นกัน ยกตัวอย่างจากชั่วโมงวิ่งมาราธอนของเด็กนักเรียนญี่ปุ่น


มีอยู่วันหนึ่ง เด็กที่เกลียดชั่วโมงวิ่งมาราธอนเป็นชีวิตจิตใจ ตื่นเช้าขึ้นมาและพบว่าตัวเองเปลี่ยนแปลงไป ตัวสูงใหญ่ ขายาวขึ้น กล้ามเนื้อแข็งแรงเป็นมัด ๆ


วันนั้นเขาบอกกับตัวเองว่า "คอยดู ฉันจะวิ่งมาราธอนให้แหลกเลย รับรองเพื่อน ๆ ต้องตกใจแน่"


แต่เมื่อเขาออกวิ่ง… เสียงนาฬิกาปลุกก็ดังขึ้น


ถึงแม้ว่ามันเป็นเพียงแค่ความฝัน แต่มันก็ทำให้เขาก็เกิดแรงขับบางอย่าง ที่อยากจะทำให้มันเป็นความจริงให้ได้


เขาเริ่มเปลี่ยนความคิด เชื่อมั่นว่าเขาทำได้ ตั้งแต่นั้นมาเขาก็วิ่งได้ระยะทางไกลขึ้น แข็งแรงขึ้น และไม่เหนื่อยง่าย จนเพื่อน ๆ แปลกใจเมื่อคนเราทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้สำเร็จ ความมั่นใจก็จะมีเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นแรงขับให้เกิดความมุมานะทำสิ่งอื่น ๆ ให้สำเร็จอีกต่อ ๆ ไป


เพราะเหตุนี้เอง จึงดูเหมือนว่า "คนเก่ง" ไม่ว่าจะทำอะไร ก็ประสบความสำเร็จไปเสียทุกอย่าง


เห็นไหมว่า ความคิดของเราเอง ที่เป็นตัวกำหนดให้เรา "แพ้" หรือ "ชนะ"


เพียงคิดว่า "น่าจะทำได้" หรือ "ไม่น่าจะทำได้" ก็เป็นตัวกำหนดการกระทำที่แตกต่างของเราแล้ว


ความรู้สึกว่า "น่าจะทำได้" นี่แหละที่ทำให้เกิดช่องว่างระหว่าง "คนเก่ง" และ "คนไม่เก่ง"




การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพจะทำให้การดำเนินงานต่าง ๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ราบรื่น อีกทั้งยังเป็นการรักษาสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ร่วมงานเอาไว้ด้วย


เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อกัน ภายในองค์กรจึงมักสื่อสารกันผ่านทางอีเมล ดังนั้น การให้ความสำคัญกับการตอบอีเมลจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม


1. เมื่อได้รับอีเมลแล้วควรรีบตอบโดยเร็ว

ถึงแม้จะไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน แต่ก็ควรรีบตอบ เพราะผู้ส่งกำลังรอคำตอบของเราอยู่ แม้ในบางครั้งที่ผู้ส่งเสนอความคิดเห็นผ่านมาทางอีเมล แล้วเราเห็นว่าเป็นความคิดที่ดีอยู่แล้ว เราไม่มีความคิดเห็นอะไรเพิ่มเติม ก็ควรจะตอบให้เขารู้ด้วย ไม่จำเป็นต้องรอให้มีความเห็นที่แตกต่างกันจึงจะส่งกลับไป เพียงตอบกลับไปว่า เห็นด้วยครับ เท่านี้ก็ทำให้ผู้ส่งชื่นใจแล้ว ดีกว่าเงียบเฉย ปล่อยให้ผู้ส่งต้องรออย่างไร้จุดหมาย


2. หากไม่สามารถให้คำตอบได้ทันที ก็ควรบอกให้ผู้ส่งทราบโดยเร็ว

หากคุณได้รับอีเมลแล้วแต่ยังไม่มีเวลาอ่านรายละเอียด อาจตอบเพียงสั้น ๆ ว่าได้รับอีเมลแล้วครับ และจะให้คำตอบได้เมื่อไร ซึ่งผู้ส่งจะได้สบายใจ ไม่ต้องหงุดหงิดกังวลใจ


3. งานที่ได้รับมอบหมายทางอีเมล ควรรีบทำให้เสร็จโดยเร็ว

ควรค้นหาช่องว่างของเวลา งานชิ้นไหนสามารถทำให้เสร็จได้ก่อน ก็ไม่ควรเก็บไว้จนใกล้ถึงกำหนดส่ง คนที่ถูกมองว่าทำงานช้า คือคนที่ทำงานเสร็จในวันที่กำหนดส่งพอดี แต่ถ้าคุณสามารถส่งงานก่อนเวลาได้ คุณจะถูกมองว่าเป็นคนทำงานเร็ว การส่งงานก่อนเวลาจะทำให้คุณมีภาพลักษณ์ที่ดี หัวหน้าและเพื่อนร่วมงานจะชื่นชมที่คุณมีความสามารถจัดการกับงานที่ได้รับ มอบหมายได้อย่างรวดเร็ว


4. ใช้ภาษาที่สุภาพในการสื่อสารทางอีเมล

การโต้ตอบทางอีเมล เป็นการสนทนาที่อีกฝ่ายหนึ่งจะไม่เห็นหน้าของคุณ นอกจากจะสื่อสารให้ชัดเจนแล้ว คุณยังต้องคำนึงถึงโทนเสียงด้วย ถึงจะใช้ภาษาเขียน แต่ก็ต้องมีโทนเสียงที่แสดงถึงความอ่อนน้อม สุภาพ ไม่ใช่แข็งกร้าว หรือแสดงความเย่อหยิ่ง ยโส เพราะจะทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกไม่ดี อาจทำให้เกิดการเข้าใจผิด หรือผิดใจกันได้โดยง่าย


นอกจากนี้ สำหรับคนรุ่นใหม่ไฟแรง ที่มีความมุ่งมั่นในการทำงานอย่างมากนั้น การที่จะนำเสนอแนวคิดให้แก่หัวหน้าหรือผู้ที่อาวุโสกว่า รวมทั้งถกเถียงกันอย่างรุนแรงก็สามารถทำได้ด้วยการใช้ภาษาที่สุภาพ เพราะถึงแม้จะถกเถียงกันรุนแรง แต่ก็ยังแสดงถึงความเคารพ นอบน้อม ทำให้คนเหล่านั้นยังคงได้รับความเอ็นดูจากผู้ใหญ่เหมือนเดิม อีกทั้งยังได้รับความเชื่อถือเพิ่มมากขึ้นด้วย เพราะการใช้ภาษาที่สุภาพ เป็นการแสดงถึงความใส่ใจในความรู้สึกของอีกฝ่ายหนึ่งนั่นเอง


ไม่ว่าจะเป็นคำทักทาย คำขอบคุณ ขอโทษ ปฏิเสธ ให้คำตอบ หรืออื่น ๆ ก็สามารถใช้ภาษาให้น่าฟังได้ เช่น

  1. ขอบคุณครับที่ให้ความช่วยเหลือมาโดยตลอด
  2. ต้องรบกวนด้วยนะครับ
  3. เรื่องที่เสนอมานั้น จะพิจารณาอย่างดีที่สุดครับ
  4. ถ้าหากว่าคุณจะกรุณา…
  5. ถ้าหากว่าเป็นความเข้าใจผิดของผมก็โปรดอภัยให้ด้วยครับ
  6. ต้องทำให้ท่านยุ่งยากอย่างมากเลยครับ
  7. ไม่ทราบว่าจะกล่าวอย่างไรดีครับ แต่...


ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารด้วยความรวดเร็ว หรือการแสดงความสุภาพอ่อนน้อม ย่อมทำให้เกิดผลดีต่อตัวคุณเอง การให้ความสำคัญกับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่นนี้ จะส่งเสริมให้คุณเป็นที่น่าเชื่อถือ และเป็นที่ชื่นชอบของคนรอบข้างอยู่เสมอ



คนที่ประสบความสำเร็จมักต้องการให้ผลงานของตนเอง "ไร้ที่ติ" และมักจะมีเป้าหมายใหม่ ๆ ที่สูงขึ้นไป ซึ่งต้องใช้ความพยายามมากขึ้น เพื่อไปให้ถึงให้ได้


อย่างนักกีฬาที่ทำผลงาน ได้ดีเยี่ยมในสายตาของผู้ชม เมื่อนักข่าวสัมภาษณ์ถึงเป้าหมายต่อไปของเขา คงไม่มีใครที่จะตอบว่า เขาพอใจมากและจะหยุดความสามารถไว้เพียงแค่นี้ ทุกคนล้วนมีการมองเป้าหมายที่สูงขึ้นไป และพร้อมที่จะพัฒนาฝีมือความสามารถให้ดีขึ้นไปอีก


ทุกคนจึงมักจะตอบว่า "อยากทำให้ได้ดีกว่านี้อีก"


แม้ แต่แชมป์โลก ยังต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาแชมป์เอาไว้ให้ได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะคู่แข่งของเขาย่อมต้องฝึกซ้อมอย่างหนัก เพื่อให้ได้ขึ้นมาเป็นเบอร์หนึ่งแทนที่เขา เมื่อไรก็ตามที่เขาหยุดพัฒนา ไม่ตั้งเป้าหมายให้สูงขึ้น เมื่อนั้นคนที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาย่อมขึ้นมาแทนที่เขา และอาจแซงหน้าเขาไปไกลในที่สุด


ดังนั้น คนที่ประสบความสำเร็จ ก็คือ คนที่ทำให้ถึงที่สุด เพราะคนธรรมดาทั่วไปมักจะพอใจแล้วกับผลงานที่ครอบคลุม 80% ของเป้าหมาย แล้วเรียกระดับของผลงานว่าพอใช้ได้แล้ว และหยุดความพยายามไว้แค่นั้น แต่สำหรับคนที่ประสบความสำเร็จ การทำได้แค่ "พอใช้" นั้น บางครั้งเทียบเท่ากับ "ทำไม่ได้" เสียด้วยซ้ำ ทั้งนี้ เนื่องจากระดับที่วัดว่า "สำเร็จ" ของเขานั้นต้องอยู่ในระดับ "ไร้ที่ติ"


ใน โลกของคนทำงาน เราย่อมต้องมีเป้าหมายในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายรายเดือน เป้าหมายรายไตรมาส หรือเป้าหมายรายปี คนแต่ละคนแม้จะยืนอยู่จุดเดียวกันก็ตาม ยังตีความในเรื่องของเป้าหมายไม่เหมือนกัน ทำให้คนที่มุ่งมั่นในการแสวงหาความไร้ที่ติ กับคนที่พอใจในผลลัพธ์ที่ได้ 80% มีความรู้สึกต่อการบรรลุผลที่ไม่เท่ากัน


อย่าง เช่น เป้าหมายคือ ต้องทำให้ยอดขายโตขึ้น 20% คนที่ประสบความสำเร็จจะถือว่านี่คือเป้าสำหรับก้าวสู่ขั้นต่อไป ถ้าเคลียร์เป้านี้เสร็จจะได้ไปยืนรอเพื่อเคลียร์เป้าต่อไป


แต่ สำหรับคนทั่ว ๆ ไป พอทำได้ผลก็ดีใจใหญ่โต และพร้อมที่จะหยุด เพราะมองไม่เห็นขั้นถัดไปที่จะต้องทำต่อ ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ที่เมื่อเสร็จงานแล้วก็อยากจะพัก


แม้คนทั้งสองประเภทจะมุ่งหน้าเข้าสู่เป้าหมายเช่นเดียวกัน แต่เป้าหมายที่วาดในใจของทั้งสองคน กลับเป็นคนละเป้าหมายกันโดยสิ้นเชิง


ความ แตกต่างที่เห็นได้จากพฤติกรรมที่แสดงออกนั้น ไม่ใช่ว่า คนที่ไม่เก่งเป็นคนไม่เอาการเอางาน แต่เป็นเพราะคนเหล่านี้นึกไม่ถึงว่า ถ้าทำได้ตามเป้าแล้ว ยังมีอะไรที่จะต้องทำต่ออีก


หากอยาก จะเป็นคนที่ประสบความสำเร็จจะต้องมีความต้องการมากขึ้นไปเรื่อย ๆ ตามระดับความเก่งของตน แม้ผลที่ได้จะดีแล้ว ก็ยังมีความรู้สึกว่า ถ้าทำอย่างนั้นน่าจะได้ดีกว่านี้ คราวหน้าลองทำอีกวิธีหนึ่งดูดีกว่า หาวิธีพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา อย่าพึงพอใจอะไรง่าย ๆ แล้วหยุดที่จะพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น เพราะมันคืออุปสรรคที่ทำให้ไปไม่ถึงความสำเร็จเสียที


จงมองไปข้างหน้า แล้วจะพบว่ายังมีความท้าทายใหม่ ๆ ที่รออยู่ในขั้นต่อ ๆ ไป




สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้บังคับบัญชา โดยใช้การ "รายงาน-แจ้งให้ทราบ-ปรึกษา" อย่างต่อเนื่อง จะทำให้เราเป็นที่ยอมรับของผู้บังคับบัญชาได้ ด้วยเหตุที่มีผู้ใต้บังคับบัญชาจำนวนไม่น้อยที่ไม่ค่อยชอบผู้บังคับบัญชาเอา เสียเลย แต่เวลาทำงานในแต่ละวัน ส่วนใหญ่แล้วก็ต้องอยู่ที่บริษัท ดังนั้นการมีความตั้งใจที่จะมีการสื่อสารที่ดีกับผู้บังคับบัญชาก็คือ การรายงาน การแจ้งให้ทราบ และการปรึกษา


  • การรายงาน หมาย ถึง การรายงานให้กับผู้บังคับบัญชาหรือผู้เกี่ยวข้องทราบ ซึ่งจะทำให้สามารถรักษาการสื่อสารที่ดีไว้ได้ สำหรับเรื่องที่ไม่ดีนั้น ก่อนรายงานจะต้องทบทวนและทำความเข้าใจให้ชัดเจนโดยเร็ว ถ้าเป็นรายงานเรื่องที่ดี ไม่ต้องรีบร้อนก็ได้ ให้รายงานในโอกาสและจังหวะที่เหมาะสมที่จะแสดงเป็นผลงานของตนเองได้ และควรรายงานข้อเท็จจริงอย่างถูกต้องเสมอ นอกจากนี้ วิธีการรายงานก็เป็นประเด็นสำคัญ เพราะอาจจะทำให้ผลลัพธ์เดียวกัน ได้รับการประเมินที่สูงขึ้นได้
  • การแจ้งให้ทราบ ในการแจ้งนั้นผู้แจ้งจะต้องถ่ายทอดข้อมูลให้ถูกต้องชัดเจน โดยใช้หลัก 5W 2H (Who, What, Where, When, Why, How, How much) เพื่อ ถ่ายทอดข้อมูลให้ถูกต้อง ชัดเจน การที่ทุกฝ่ายมีข่าวสารร่วมกัน ก็จะสามารถป้องกันการเข้าใจผิดได้ การแจ้งให้ทราบจึงเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ดีอย่างหนึ่ง ส่วนวิธีการรายงานนั้นก็ควรเลือกวิธีการที่ไม่ทำให้ภาระของทั้งสองฝ่ายต้อง หนักมากเกินไป
  • การปรึกษา การขอคำปรึกษาต่อผู้บังคับบัญชา หรือ ผู้เกี่ยวข้อง จะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งมาเป็นข้างเดียวกับเราได้ แต่พึงระวังไว้อย่างหนึ่ง อย่าถามเพียงว่า "ทำอย่างไรดีครับ" เวลาปรึกษาก็ควรมีความคิดของตัวเองหรือมีข้อเสนอบางอย่างเข้าไปด้วย นอกจากนี้เมื่อให้คำปรึกษาแล้ว อีกฝ่ายหนึ่งก็จะมาช่วยคิดแบบคนที่สนิทสนมกัน และหากนำความเห็นจากผู้บังคับบัญชาไปใส่ไว้ในข้อเสนอหรือแผนงานของเรา เวลานำเสนอก็จะได้ประโยชน์ คือได้รับการประเมินและเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชาได้ง่ายอีกด้วย ซึ่งจะช่วยลดกรณีที่ความพยายามล้มเหลวหรือพลาดเป้าได้


ผู้บังคับบัญชาส่วนใหญ่มักจะมีแนวโน้มที่ว่า ไม่มีความเห็นของตนเองเข้าไปอยู่ด้วย มักจะไม่พูดคำว่า "Yes" ต่อสิ่งที่เรานำเสนอง่าย ๆ ถึงแม้ว่าจะเป็นข้อเสนอที่ดีเพียงใดก็ตาม และยิ่งถ้าเป็นข้อเสนอที่ไม่ตรงกับความเห็นชอบของผู้บังคับบัญชาก็มักจะไม่ ได้รับการอนุมัติ


ดังนั้นเมื่อจะนำเสนออะไร ควรมีการปรึกษาผู้บังคับบัญชาเสียก่อน จะทำให้รับรู้ความคิดของผู้บังคับบัญชาได้ จากนั้นเมื่อทำข้อเสนอต่าง ๆ เช่นการปรับปรุงงาน โดยพิจารณาครอบคลุมถึงความคิดของผู้บังคับบัญชาแล้ว ข้อเสนอของเราก็ไม่น่าจะถูกปฏิเสธไปเสียทั้งหมด แต่ถ้าสามารถทำให้ความพยายามนั้นได้รับการประเมินและเห็นด้วยจากผู้บังคับบัญชา ก็น่าจะเป็นเรื่องที่ฉลาดกว่า


อย่างไรก็ดี การที่จะต้องให้ความเห็นเพิ่มเติมเข้าไปในข้อเสนอของผู้ใต้บังคับบัญชานั้น เป็นนิสัยของความเป็นผู้บังคับบัญชา เพราะฉะนั้นเมื่อทำข้อเสนอ ก็ทำให้สมบูรณ์ประมาณ 90-95% ก็พอ เพื่อเปิดช่องว่างไว้สำหรับให้ผู้บังคับบัญชาติติงได้บ้าง


เพราะการที่ได้ใส่ความคิดเห็นเพิ่มเติมเข้าไป แล้วให้ผู้ใต้บังคับบัญชานำไปแก้ไขนั้น จะทำให้ผู้บังคับบัญชามีความพึงพอใจเพิ่มสูงขึ้นได้


ที่มา : หนังสือ "เก่งงานได้ ทั้งง่าย ทั้งสนุก" แปลโดย รังสรรค์ เลิศในสัตย์


วลาที่ทำอะไรแล้วไม่สำเร็จ หรือยังคงรู้สึกว่าไม่สุด เราเคยถามตัวเองหรือเปล่าว่า ตัวตนที่แท้จริงของเรานั้นคืออะไร เราเป็นตัวนาก (สัตว์ที่เชี่ยวชาญการเวียนว่าย) เป็นกระรอก (สัตว์ที่เชี่ยวชาญการปีนป่าย) หรือเป็นหนู (สัตว์ที่เชี่ยวชาญด้านการหลบหลีกภยันตราย) เพราะสัตว์สามชนิดนี้มีความสามารถพิเศษเฉพาะตัวที่ต่างกันออกไป แยกกันอยู่พวกมันเก่งคนละแบบ แต่ถ้าอยู่ร่วมกันได้และสามารถทำงานร่วมกันได้อีก สัตว์สามชนิดนี้จะกลายเป็นสุดยอดคนทำงานเลยล่ะ ลองปรับตัวให้เข้ากับตัวตนที่แท้จริงของเราให้ได้มากที่สุด แล้วเราจะพบกับความสำเร็จในแบบของเราเอง

ลองดูคำแนะนำง่ายๆ 3 ข้อ ที่อาจจะเป็นตัวช่วยให้คุณไปสู่ความสำเร็จได้ง่ายขึ้น


  1. ยอมรับในความเป็นตัวคุณและสัญชาตญาณในการตัดสินใจ
  2. สัญชาตญาณ ในการตัดสินใจของคนนั้นแบ่งได้เป็นสี่ข้อใหญ่ๆ ให้คุณลองสังเกตตัวเองง่ายๆ ว่าเวลาที่คุณตัดสินใจหรือลงมือทำอะไรสักอย่างนั้นมีปัจจัยอะไรบ้าง ในการเป็นตัวช่วยให้สิ่งนั้นสำเร็จลุล่วงไป ในกรณีนี้เราขอยกตัวอย่างเรื่องการเรียนรู้การถักโครเชย์ เพราะแต่ละคนจะมีการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ต่างกันออกไป

    • พวกเรียนรู้เร็ว : ถ้าคุณเป็นพวกเรียนรู้เร็ว สิ่งแรกที่คุณจะทำคือออกไปซื้อเข็มโครเชย์ ด้ายและหนังสือฝึกทำในทันทีทันใด อาจจะมีการสอบถามผู้รู้สำหรับเทคนิคเล็กน้อย และลงมือทำไปโดยเรียนรู้จากข้อผิดพลาดของตัวเอง
    • พวกชอบหาข้อมูล : ก่อนที่คุณจะเริ่มทำอะไร คุณมักจะใช้เวลาหลายชั่วโมงเพื่ออ่านและศึกษาสิ่งนั้น หรือแอบดูคนที่ถักโครเชย์เก่งๆ สอบถามข้อข้องใจอย่างเต็มที่ พูดง่ายๆ ว่าเอาทฤษฎีให้เต็มที่ก่อนจะลงมือปฏิบัติจริง
    • พวกชอบประยุกต์ : คุณจะให้ความสำคัญกับคำพูดและตำราน้อยกว่าแนวทางฏิบัติของตนเอง ดังนั้นคุณอาจจะร่างแบบโครเชย์ที่ต้องการจะถักขึ้นมาก่อน หรืออาจจะเลือกความหนาและสีของไหมพรม ก่อนที่จะหยิบเข็มขึ้นมาเริ่มทำ
    • พวกชอบความท้าทาย : คุณจะไม่ถักโครเชย์แบบธรรมดา คุณจะสร้างตำราเรียนย่อมๆ มาเพื่อตัวคุณเอง หรือไปเรียนกับอาจารย์แบบเป็นจริงเป็นจัง และทำตามตำราเป๊ะๆ เพื่อที่จะเรียนรู้วิธีการสร้างฝีเข็มใหม่ๆ ได้ในแบบตัวคุณเอง

    ทั้งสี่ข้อที่กล่าวมานี้ ไม่มีอะไรถูกและผิด ทุกหานทางสามารถประสบความสำเร็จได้เหมือนกัน แต่สำหรับคนที่ยึดติดอยู่กับการกระทำเพียงข้อเดียวอาจจะยากที่จะลองทำตามแบบ อื่นๆ ดูบ้าง เพราะในหน้าที่การงาน เราอาจจะต้องลองทำทุกหนทาง เหมือนกับที่ตัวตุ่นหัดว่ายน้ำ และตัวนากหัดปีนต้นไม้ ถึงแม้ว่ามันอาจจะเป็นอะไรที่เราไม่ถนัดเลยก็ตาม


  3. ใช้จุดแข็งของคุณให้เต็มที่
  4. ทุก คนย่อมรู้ดีว่าตัวเองถนัดและไม่ถนัดอะไร สิ่งที่ข้อนี้จะสอนคือ ถ้ารู้ตัวแล้วว่าไม่ชอบทำอะไรจริงๆ อย่าฝืน! ให้หาหนทางที่คุณทำแล้วสบายใจ อีกทั้งยังรู้สึกว่าได้เรียนรู้อะไรเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเป็นคนที่ชอบทำอะไรเหมือนๆ กันเป็นประจำ ไม่ชอบเรื่องแปลกใหม่ ง่ายๆ ก็คือ อย่าทำงานฟรีแลนซ์ ถ้าคุณเป็นคนชอบประดิษฐ์สิ่งต่างๆ อย่ายอมที่จะจมปลักไปกับงานบัญชีเพียงเพื่อจะหาเลี้ยงชีพ ใช้ความรู้สึกของคุณนี่แหละในการเพิ่มประสิทธิภาพในตัวคุณให้เต็มที่ แน่นอนว่าในทุกบริษัทย่อมมีคนแบบตัวนาก กระรอก และหนู มันเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้น แต่อย่าใช้การกระทำที่ออกมาจากธรรมชาติเพียงอย่างเดียว แต่ให้ใช้มันอย่างมีสติ แล้วคุณจะใช้จุดแข็งของคุณได้อย่างเต็มที่ อีกทั้ยังสามารถที่จะอยู่กับคนที่มีธรรมชาติต่างจากคุณได้อีกด้วย


  5. ร่วมงานกับคนที่มีความสามารถต่างจากคุณ
  6. เมื่อ ตัวนาก ตัวตุ่น กระรอก และหนูต้องมาทำงานร่วมกัน สิ่งที่ดีที่สุดของทีมแบบนี้ก็คือ แต่ละคนจะแสดงด้านที่ตัวเองถนัดออกมาและทีมจะสามารถทำงานได้หลายรูปแบบและมี พลังในการแก้ปัญหาได้ครบด้าน ยกตัวอย่างเช่น สัตว์ทั้งสี่จะสามารถนำเอาวัตถุดิบต่างๆ มากักตุนไว้ได้ เช่น น้ำ ดิน ต้นไม้ และหญ้า นี่เป็นอีกหนทางหนึ่งที่คุณจะนำเอาศักยภาพที่แท้จริงของตัวคุณออกมาได้ เพราะผู้คนมากมายในปัจจุบันนี้เสียเวลาไปมากกับการพยายามเป็นอะไรสักอย่าง ที่ไม่ใช่เรา เรามักจะรู้สึกแย่กับตัวเองเวลาที่ล้มเหลว และก็ไม่ได้รู้สึกดีเท่าไหร่เวลาที่สำเร็จ เรามองข้ามข้อดีของเราไป แทนที่จะยอมรับและยินดีไปกับมัน เพราะเราสามารถทำเรื่องต่างๆ ในชีวิตให้น่าตื่นเต้นขึ้น มีประสิทธิภาพขึ้น มีความสุขขึ้น และคุณภาพที่ดีขึ้นได้ ซึ่งเราควรจะเริ่มตั้งแต่ตอนนี้เลย


ที่มา : วารสารเมืองไทย smile



เมื่อการทำงานของคุณเกิดปัญหาติดขัด คุณพยายามหาทางคลี่คลาย แก้ปัญหานั้นด้วยการอยู่ทำงานล่วงเวลาจนดึกดื่นทุกคืน หรือการมาทำงานในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และคุณก็พบว่า ถึงคุณจะทำงานมากมายเพียงใด คุณก็แก้ปัญหาไม่ได้เสียที

ที่ เป็นเช่นนี้ เพราะการตั้งหน้าตั้งตาทำงาน ไม่ใช่วิธีในการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง แต่กลับยิ่งเหมือนการว่ายเวียนอยู่ในกระแสน้ำวน ที่ว่ายเท่าไรก็วนกลับมาที่เดิม ไม่สามารถหาทางออกได้เลย


แต่หากลองว่ายออกมาภายนอก แล้วเพ่งมองกลับเข้าไปยังกระแสน้ำวนนั้น อาจจะพอมองเห็นอะไรบ้างก็ได้


การ รีบร้อนที่จะแก้ปัญหามากจนเกินไป ทำให้เราติดอยู่กับความคิดเก่าๆ และนำความคิดเก่าๆ วิธีการเก่าๆ มาพยายามใช้แก้ปัญหา ซึ่งไม่ช่วยให้มีอะไรดีขึ้นมา ถ้าคุณเลิกทำงานล่วงเวลา เลิกมาทำงานวันเสาร์-อาทิตย์ แล้วกลับมาทำงานตามเวลาปกติ จะทำให้คุณเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานมากขึ้น เพราะคุณจะมีเวลาได้ ใช้ความคิดอย่างถี่ถ้วน มีเวลาได้เปิดโลกทัศน์ให้กับตัวเอง ได้ไปพบไปเห็นว่าใครเขาทำอะไรไปถึงไหนแล้ว ดีกว่านั่งจมอยู่กับงานกองใหญ่ที่ต้องสะสาง ครุ่นคิดอยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืน บางทีการถอนตัวออกมาจากจุดนั้น อาจทำให้คุณเกิดไอเดียใหม่ๆ ที่จะนำมาใช้แก้ปัญหาการทำงานของคุณก็ได้


เมื่อ คิดได้อย่างนี้ก็สบายใจขึ้น ไม่ต้องมานั่งกังวลว่าการไม่ทำงานล่วงเวลาอาจทำให้คุณถูกมองว่าเพิกเฉย ไม่พยายามหาทางจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ในความเป็นจริงนั้น คุณก็เห็นอยู่ว่า ถึงคุณจะพยายามสักเท่าไหร่ ก็แก้ปัญหาไม่ได้อยู่ดี สู้หาเวลาให้ตัวเองได้ผ่อนคลายเสียบ้าง เพื่อให้ความคิดใหม่ๆ ได้โลดแล่นออกมา


ผล จากการได้ใช้ความคิดวิเคราะห์เหตุและผลของปัญหา ทำให้เรามองเห็นที่มาที่ไปของข้อผิดพลาด เมื่อรู้สาเหตุแล้ว ที่เหลือก็คือการคิดหาวิธีการแก้ไข ซึ่งจะง่ายกว่าการว่ายวนอย่างในตอนแรกมาก หากมีความคิดสร้างสรรค์อย่างนี้ตั้งแต่แรก ก็ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาไปมากมายกับการทำงานล่วงเวลา หรือการทำงานในวันหยุด


ใน การทำธุรกิจ ความรวดเร็วเป็นเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งที่จะนำมาซึ่งชัยชนะ อย่ามัวแต่จมอยู่กับการคิดวนไปเวียนมา ถึงเวลาปลดปล่อยตัวเองจากวังวนที่ไม่ช่วยอะไร ซ้ำยังเป็นการทำลายสุขภาพของตัวคุณเองเสียที



กว่าที่คนเราจะประสบความสำเร็จได้นั้นต้อง ใช้เวลา บางคนใช้เวลาเกือบทั้งชีวิตกับการลองผิดลองถูก ล้มลุกคลุกคลานอยู่นาน แต่คนสมัยนี้โชคดี ที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของคนรุ่นก่อน ได้เรียนรู้ว่าแบบไหนทำแล้วดี ก็เอามาเป็นแบบอย่าง แบบไหนทำแล้วไม่รุ่งก็อย่าริอ่านทำ สิ่งหนึ่งที่บุคคลที่ประสบความสำเร็จมักจะบอกแก่คนรุ่นหลังเสมอๆ ก็คือ ไม่ว่าจะทำอะไรต้องเริ่มต้นจากการวางพื้นฐานเสียก่อน

ดัง เช่นที่ Lawrence D. Bell ผู้ก่อตั้ง Bell Aircraft ได้กล่าวไว้ว่า “บอกผมว่าใครคือผู้ที่ไม่ใส่ใจที่จะทำสิ่งเล็กๆ น้อยๆ แล้วผมจะบอกว่าใครคือผู้ที่ไม่สามารถได้รับการไว้วางใจให้ทำงานใหญ่ได้”


นั่น ทำให้เราเรียนรู้ว่า คนที่จะทำงานใหญ่ได้ ต้องเริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆ ก่อน ถ้าไม่สามารถทำงานเล็กๆ ได้ก็จะไม่มีวันพบกับความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ เช่นเดียวกับการเรียนคณิตศาสตร์ ที่ทุกอย่างอยู่บนพื้นฐานของการบวก ทุกคนที่บวกเลขได้ต้องเริ่มต้นจากการเรียนรู้ว่า หนึ่งบวกหนึ่งเท่ากับสอง แล้วจึงค่อยๆ พัฒนาไปยัง การลบ การคูณ การหาร และการใช้สูตรแก้โจทย์ปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น


สตี ฟ แชนเลอร์ และสก็อต ริชาร์ดสัน ผู้ฝึกอบรมและจัดหลักสูตรด้านการเป็นผู้นำในที่ต่างๆ ทั่วโลก ได้เล่าถึงประสบการณ์ในการแสดงดนตรีครั้งหนึ่งว่า พวกเขาได้พบกับรอดนี เมอร์คาโด อัจฉริยะด้านประวัติศาสตร์ดนตรี ผู้ที่มีวิธีการสอนดนตรีที่มีประสิทธิภาพที่สุด รอดนีได้ช่วยพวกเขาเตรียมการแสดงชิ้นหนึ่ง และให้พวกเขาใช้เวลาทั้งชั่วโมงง่วนอยู่กับจังหวะดนตรีสองจังหวะแรกของเพลงๆ นั้น พวกเขาทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยที่รอดนีมักจะให้พวกเขาคิดหาวิธีใหม่ๆ เช่น การเพิ่มเสียงตรงนี้ตรงนั้น จากนั้นรอดนีจะเสนอแนวทางที่จะช่วยให้พวกเขาทำเช่นนั้นได้ เมื่อมาถึงตอนท้ายของชั่วโมง พวกเขาได้ทำแค่สองจังหวะจากทั้งหมด 80 จังหวะในเพลง แล้วรอดนีก็ให้พวกเขาลองเล่นทั้งเพลงดู ไม่น่าเชื่อว่าทั้งการแสดงและกลุ่มนักดนตรีทั้งหมดราวกับถูกเนรมิต พวกเขาสามารถเล่นเพลงทั้งหมดได้อย่างไพเราะ


นี่ เองที่แสดงให้เห็นว่า การวางพื้นฐานที่ดีเป็นจุดเริ่มต้นของทุกสิ่ง บางทีเราอาจจะมองข้ามสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ไป เราอาจไม่เห็นความสำคัญของมัน แล้วพยายามไปไขว่คว้าหาสิ่งที่ดูยิ่งใหญ่ด้วยคิดว่ามันมีค่ามากกว่า จริงอยู่.. สิ่งนั้นอาจจะมีค่ามากกว่า แต่การจะได้มาซึ่งสิ่งที่ยิ่งใหญ่ ย่อมเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ ก่อน เราต้องรู้จักทำอะไรให้ช้าลง ทำเป็นขั้นเป็นตอน ทำสิ่งที่เป็นพื้นฐานให้ถูกต้องเสียก่อน จึงจะทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้สำเร็จ



ในขณะที่เรามีเวลาจำกัดในการทำงาน เราต้องรู้จักเลือกงานที่จะทำก่อน-หลัง เพื่อให้เวลาที่เรามีอยู่นั้นสามารถสร้างสรรค์ผลงาน หรือเอาต์พุตที่ให้ประโยชน์มากที่สุด ด้วยวิธีการ Pay Off Matrix จะช่วยให้เราสามารถจัดลำดับความสำคัญของงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดย หลักของ Pay Off Matrix นี้ จะแบ่งงานออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ งานที่ทำได้ง่ายได้ผลประโยชน์น้อย งานที่ทำได้ง่ายได้ผลประโยชน์มาก งานที่ทำได้ยากได้ผลประโยชน์น้อย และงานที่ทำได้ยากได้ผลประโยชน์มาก


  • งานที่ทำง่ายได้ผลประโยชน์น้อย (Quick-Win) เป็นงานที่สามารถทำได้ทันที โดยอาจทำให้ช่วงที่ว่าง เพราะว่าการเคลียร์งานประเภทนี้ไม่ต้องใช้เวลามากนัก และยังไม่กระทบต่องานอื่นอีกด้วย
  • งานที่ทำง่ายได้ผลประโยชน์มาก (Bonus-Opportunity) เป็นงานที่เราควรให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก เพราะให้ผลลัพธ์ที่คุ้มค่า และทำให้เรามีโอกาสได้โบนัสก้อนโต
  • งานที่ทำยากได้ผลประโยชน์น้อย (Time-Waster) เป็นงานที่ไม่ควรทำ เพราะถึงแม้ทำไปก็เสียเวลาเปล่า ไม่คุ้มค่ากับการลงทุนลงแรงเอาเสียเลย
  • งานที่ทำยากได้ผลประโยชน์มาก (Special-Effort) เป็นงานที่ท้าทายและน่าทำ แม้จะต้องใช้เวลา และความพยายามอย่างสูง แต่ก็ให้ผลลัพธ์ที่คุ้มค่ามากทีเดียว


ทีนี้ก็รู้แล้วนะคะว่า งานไหนควรทำ งานไหนไม่ควรทำ ซึ่งจะทำให้เราสามารถจัดการกับงานในมือได้อย่างเป็นระบบ สำหรับงานที่มีความสำคัญมาก ไม่ทำไม่ได้ มีข้อควรจดจำดังต่อไปนี้ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในงานชิ้นสำคัญ

  1. จดลงในตารางเวลา เพื่อจะได้จัดสรรเวลาไว้เป็นลำดับต้นๆ
  2. ทำงานด้วยความรับผิดชอบ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
  3. เมื่อให้สัญญาใดๆ ต้องรักษาสิ่งที่ได้สัญญาไว้อย่างเหนียวแน่น เพื่อไม่ให้สูญเสียความน่าเชื่อถือไป


คนที่มีการวางแผนในการทำงานที่ดีจะไม่มีวันเป็นดินพอกหางหมู หรือเสียเหงื่อโดยปราศจากเอาต์พุต ไม่ว่างานไหนๆ ก็สามารถสะสางให้เสร็จเรียบร้อยได้ นี่แหละหนทางสู่ความสำเร็จในการทำงานของคนรุ่นใหม่



คำว่า "มูลค่า" ในความหมายของพจนานุกรมไทย (ฉบับอธิบายสองภาษา) หมายถึง ทุนทรัพย์ หรือ ค่าทางเศรษฐกิจ ส่วนในแวดวงสังคมคนทำงาน คำว่า มูลค่า หมายถึง ความรู้ ความสามารถที่มีติดตัวมาเป็นทุนเดิม และคนเราจะมีคุณค่าสำหรับองค์กรก็ต่อเมื่อได้แสดงศักยภาพ ที่มีอยู่ในตัวออกมาเต็มที่ อย่างน้อยก็ควรมีทักษะ และความสามารถพื้นฐาน 10 ประการ (10 in demand job skills) ที่บริษัทต่างๆ อยากให้พนักงานของตนมี ส่วนจะมีอะไร และตรงกับมูลค่าที่มีอยู่แล้ว ในตัวคุณบ้างหรือไม่นั้น มาดูกันเลยค่ะ

  • มี ไหวพริบในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพราะการทำงานในแต่ละวันมักจะมีอุปสรรคปัญหาที่เราไม่คาดคิดมาก่อนเสมอ ถ้ามัวทำไม่สนใจล่ะก็ เรื่องเล็กอาจบานปลาย กลายเป็นเรื่องใหญ่ พลอยทำให้เจ้านายต้องเดือดร้อนลงมาจัดการเอง
  • มี ความรอบรู้เกี่ยวกับเครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์สำนักงานสมัยใหม่ส่วนใหญ่จะพัฒนาเทคโนโลยีอย่างไม่หยุดยั้ง คุณควรอัพเดตตัวเองบ้าง อย่างน้อยก็ควร "ใช้เป็น" โดยไม่ต้องไปขอร้องให้ใครช่วยทำให้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพริ้นเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องแฟกซ์ ฯลฯ แม้แต่เรื่องง่ายๆ อย่างการโอนสายโทรศัพท์ หรือการส่งอีเมล อย่าให้ใครเขาค่อนแคะเอาได้ว่า โลว์เทคโนโลยี เชียวล่ะ
  • ใช้ คอมพิวเตอร์เป็น ไม่ใช่เพียงแค่ปิดหรือเปิดเครื่องเป็นเท่านั้น แต่คุณต้องใช้โปรแกรมพื้นฐานได้คล่องแคล่ว อาทิ MS Word, MS Excel, WinZip, ACD See และโปรแกรมแอนตี้ไวรัส รวมถึงกลเม็ดเคล็ดลับต่างๆ นานา (tips) ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้คุณ
  • เรียนรู้งานเร็ว ถ้าถึงขั้น "รู้ทาง" เจ้านาย หรือ ลูกค้า ด้วยก็ยิ่งดี
  • มี ทักษะในการบริหารข้อมูล รู้ว่าเรื่องไหนควรเก็บ เอกสารชิ้นไหนควรทิ้ง อย่าให้โต๊ะทำงานรกไปด้วยกองเอกสาร และไม่ควรปล่อยให้คอมพิวเตอร์เต็มไปด้วยไฟล์ขยะ
  • เครดิต ดีไม่มีปัญหาเรื่องเงิน ประเภทชักหน้าไม่ถึงหลัง ต้องหยิบยืมเพื่อนฝูงบ่อยๆ บริษัทหรือองค์กรจะถือว่าคุณเป็นบุคคลที่ไม่มีสมาธิในการทำงาน เพราะมัวแต่กังวลเรื่องเงิน
  • รอบรู้ในงานและหน้าที่ของตนเป็นอย่างดี
  • รู้หลายภาษา แน่นอน…โดยเฉพาะภาษาอังกฤษควรฝึกฝนให้อยู่ในระดับที่สามารถสื่อสารกับคนอื่นได้
  • เป็นคนมีเหตุมีผล รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่ยึดติดกับความคิดของตนเองเพียงฝ่ายเดียว
  • อัพ เดตตัวเองให้ทันยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ควรรู้ว่าอะไร in อะไร out ซึ่งทำได้ง่ายๆ โดยอ่านหนังสือพิมพ์ หรือ ท่องอินเทอร์เน็ตบ่อยๆ

ลอง เช็กตัวเองดูสิว่า คุณมีค่าพอสำหรับบริษัทที่คุณทำงานอยู่หรือยัง ถ้าคำตอบคือ "ยัง" ล่ะก็…รีบสร้าง "มูลค่าเพิ่ม" ให้ตนเองโดยด่วน เริ่มตั้งแต่ตอนนี้เลยนะคะ

ที่มา : www.cmprice.com



การทำงานให้มีประสิทธิภาพคือการที่เราได้ ทุ่มเทความสามารถอย่างเต็มที่ให้กับงานชิ้นนั้นๆ ซึ่งส่งผลออกมาเป็นเอาต์พุต นั่นคือผลงานที่เกิดขึ้น ต่างจากการใช้ความพยายามด้วยหยาดเหงื่อแรงกาย แต่ไม่ได้เอาต์พุตออกมาให้เห็น ซึ่งในแง่ของการทำงานเรียกได้ว่า เป็นงานที่ยังไม่เสร็จ แม้จะใช้ความพยายามทำให้ดีเลิศเพอร์เฟ็กเพียงใด แต่ถ้างานนั้นไม่สำเร็จตรงตามเวลาที่กำหนด ก็ไม่สามารถวัดค่าความสำเร็จออกมาได้ ดังมีคำกล่าวไว้ว่า งานที่ดีคืองานที่เสร็จ

เมื่อ งานที่ดีคืองานที่เสร็จ แต่งานที่มีในมือนั้นช่างมากมายเหลือเกิน เราจะสามารถทำมันให้สำเร็จได้อย่างไร นั่นคือเราต้องรู้จักเคลียร์สต๊อกงานอย่างชาญฉลาด เพื่อให้มีเวลาเพิ่มขึ้น หลักการหนึ่งซึ่งสามารถนำมาเป็นแนวทางได้ก็คือ หลัก ECRS ตัวอักษรแต่ละตัวมีความหมายดังต่อไปนี้


  • E มาจาก Eliminate หมายถึง กำจัด ยกเลิก ทิ้งไป
  • C มาจาก Combine หมายถึง การรวมเข้าด้วยกัน
  • R มาจาก Replace หมายถึง การสับเปลี่ยนทดแทน
  • S มาจาก Simplify หมายถึง การทำงานให้ง่ายขึ้น


วิธีในการนำมาใช้จัดการกับงานอันมากมายของเรา คือ เริ่มจาก ดูตัว E ก่อน ว่ามีงานใดที่เราสามารถกำจัด ยกเลิก ทิ้งไปได้ ซึ่งหมายถึงเราต้องประเมินว่า ถ้าตัดทิ้งไปจะส่งผลอย่างไร หากเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญอะไร ก็สามารถตัดทิ้งไปได้ หรือจะตัดอย่างอื่นที่เป็นอุปสรรคในการทำงานออกไปแทน เช่นเราใช้เวลาในการเช็กอีเมลตอนเช้ามากเกินไป ทำให้เราเริ่มงานได้ช้า งานจึงเสร็จล่าช้า เราก็สามารถตัดเวลาในการเช็กอีเมลออกไปครึ่งหนึ่ง คือใช้เวลาในการเช็กอีเมลให้เร็วขึ้น เราก็จะมีเวลาเพิ่มขึ้น


แต่ หากประเมินดูแล้วว่าเราไม่สามารถใช้ตัว E ได้ ก็หันมาดูตัว C ซิว่า เราสามารถนำเรื่องมากกว่า 2 เรื่อง มารวมเป็นเรื่องเดียวกันได้หรือไม่ หรืออาจเป็นการรวมขั้นตอนหลายๆ ขั้นตอนเข้าเป็นขั้นตอนเดียว เช่นงานธนาคาร ที่สามารถปรับให้เป็นแบบ one stop ที่ลูกค้าสามารถใช้บริการได้ทุกอย่างในเคาน์เตอร์เดียว ไม่ต้องเข้าหลายๆ เคาน์เตอร์อย่างเมื่อก่อน ซึ่งเมื่อเราปรับระบบงานให้กระชับมากขึ้นและมีประสิทธภาพมากขึ้น


ต่อ มาที่ตัว R ในกรณีที่ไม่สามารถใช้ตัว C ได้ ก็ลองมาพิจารณาว่า งานชิ้นนั้นเป็นงานที่ต้องเป็นเราเท่านั้นที่จะทำหรือไม่ หากเราไม่จำเป็นต้องทำงานนั้นด้วยตัวเอง เราสามารถสับเปลี่ยนให้คนอื่นทำ เช่น เลือกใช้ outsource หรือมอบหมายให้ลูกน้องทำได้หรือไม่ เพื่อเราจะมีเวลาให้งานอื่นที่สำคัญมากกว่า


ตัว สุดท้าย คือตัว S หากไม่มีตัวไหนช่วยเราได้เลย แล้วเราสามารถมีวิธีทำให้งานชิ้นนั้นสำเร็จได้ง่ายขึ้นหรือไม่ แทนที่จะทำเป็นเก็บรายละเอียดทุกเม็ด ชนิดที่สุดเฟอร์เฟ็กไร้ที่ติ ลองหันมาใช้วิธีคุมที่ภาพรวมของงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์เดิม แต่อาจหาวิธีการที่จะทำให้งานนั้นง่ายและเร็วขึ้น เช่น ถ้าเราจะออกแบบโปสเตอร์โฆษณาแทนที่จะวาดด้วยมือและลงสีน้ำ เราก็เลือกที่จะใช้การวาดและลงสีด้วยคอมพิวเตอร์แทน ทำให้เราสามารถทำงานได้เสร็จเร็วขึ้น


หลัก ECRS นี้สามารถนำไปใช้ในการทำงาน และยังสามารถปรับใช้เพื่อลดเวลาเรื่องที่ใกล้ตัว หรือเป็นเรื่องในชีวิตประจำวันอื่นๆ ที่ไม่ใช่เรื่องงานได้ด้วย เมื่อเรารู้จักประเมินการใช้เวลาในแต่ละเรื่อง และหาทางตัดทิ้ง รวมเข้าด้วยกัน ปรับเปลี่ยน หรือทำให้ง่ายเข้า จะทำให้เราใช้เวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดเอาต์พุตเพิ่มขึ้นด้วย



บ่อยครั้งที่อาจรู้สึกว่างานยุ่งตลอดทั้ง วัน แต่เมื่อลองทบทวนดูว่าได้ทำอะไรไปบ้างในแต่ละวันที่แสนวุ่นวายนั้น กลับพบว่าไม่ได้ทำงานที่สลักสำคัญหรือเป็นชิ้นเป็นอันสักเท่าไร เป็นเพียงการทำงานให้เสร็จทันตามกำหนดที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น ซึ่งเรียกเวลาที่ผ่านไปในหนึ่งวันนั้น เป็นเวลาของคนอื่น

การทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพคือการมีเวลาของตัวเอง ซึ่งหมายถึง เวลาที่ได้ทำงานที่ตัวเองได้ใช้ความคิด วางแผน และลงมือปฏิบัติด้วยความตั้งใจของตัวเอง ตัวเองคิดอย่างนี้ อยากทำอย่างนี้ รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของงานชิ้นนั้นๆ เช่น งานที่เราได้ใช้ไอเดียปรับปรุงวิธีการทำงานด้วยตัวเอง เพื่อให้บรรลุในหน้าที่ที่เราเป็นผู้รับผิดชอบ ไม่ใช่เป็นเพียงงานที่ทำตามคำสั่ง เพื่อให้เสร็จตามกำหนดเวลาที่ผูกมัดอยู่กับคนอื่น เช่น การเข้าประชุมตามคำสั่งเร่งด่วนจากหัวหน้า การจัดเอกสาร การต้อนรับลูกค้า เป็นต้น


เพียงทำงานตามกำหนดการ ไม่ช่วยให้สร้างสรรค์อะไรขึ้นมาได้เลย...


การได้ทำงานของตัวเองจึงมีคุณค่ามากกว่า...


เพียง เราเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน แทนที่จะทำงานแบบตั้งรับ รอคำสั่ง หรือทำงานที่คนอื่นแบ่งให้ ซึ่งไม่ใช่งานที่มาจากความต้องการของเรา...


...หันมาเพิ่มเวลาสำหรับการทำงานของตัวเองให้มากขึ้น


เรา จึงต้องรู้จักแยกแยะ และจัดสรรเวลาในการทำงานของตัวเอง งานที่ไม่จำเป็นต้องทำ ก็ไม่ต้องทำ เอาเวลามาทำงานที่สำคัญมากกว่า


ส่วนงานที่จำเป็นต้องทำ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่


  1. งานที่ใครๆ ก็ทำได้ - เราอาจจำเป็นต้องสร้างลูกน้อง หรือคนรุ่นใหม่ เพื่อมาทำงานในส่วนนี้ เช่นงานเอกสารต่างๆ
  2. งานสำหรับผู้เชี่ยวชาญ - ถ้าเราไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญก็อาจต้องหา outsource เพื่อมาดูแลงานในส่วนนี้ เช่นงานวิชาการ ที่ต้องการผู้มีความชำนาญเฉพาะทาง
  3. งานที่ตัวเองควรทำ - ให้เวลากับตัวเองในการคิดหาวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพ เช่นงานครีเอทีฟ งานวางแผนกลยุทธ์ เป็นต้น

การ ปล่อยให้ตัวเองวนเวียนอยู่ในวัฏจักรที่ต้องมีงานยุ่งตลอดทั้งวันเป็นการปิด โอกาสในการใช้ความรู้ความสามารถของตัวเรา เนื่องจากเรามัวไปทุ่มเทให้กับงานจิปาถะมากมาย ที่ไม่ได้เพิ่มพูนประสิทธิภาพในการทำงานสักเท่าไร หากแต่การให้เวลากับงานของตัวเอง จะทำให้เกิดผลงานใหม่ๆ ในทางสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น เพราะเราได้คิด วางแผน และลงมือปฏิบัติอย่างตั้งใจด้วยตัวของเราเอง เริ่มต้นจัดสรรเวลาให้เหมาะสม เพื่อหลุดพ้นจากวัฏจักรเดิมๆ สู่ความสำเร็จที่ทุกคนปรารถนา



Muda, Mura, Muri เป็นคำภาษาญี่ปุ่น Muda คือ ความสูญเปล่า Mura คือ ความไม่สม่ำเสมอ และ Muri คือ การฝืนทำ 3 สิ่งนี้คือปัญหาที่ซ่อนเร้นอยู่เบื้องหลังการทำงานที่ไม่ประสบความสำเร็จ ถ้าเราสามารถกำจัด 3 สิ่งนี้ได้ เราจะสามารถลดเวลาที่ไม่ทำให้เกิดผลงานได้ ในทางกลับกันก็สามารถเพิ่มเวลาที่ทำให้เกิดผลงานได้มากขึ้น

Muda หรือความสูญเปล่า อาจเกิดได้หลายลักษณะ อาทิ ความสูญเปล่าที่เกิดจากการรอ การเคลื่อนย้าย การปรับเปลี่ยน การทำใหม่ การถกเถียง เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่น การประชุมอาจเกิดความสูญเปล่าได้ หากการประชุมนั้นกลายเป็นการถกเถียงกัน ทำให้เสียเวลาไปกับการประชุมที่ไม่ได้ข้อสรุป หรือในการทำกิจกรรมการขาย ถ้าไม่มีการวางแผนในการจัดพื้นที่การไปพบลูกค้า ก็จะเสียเวลาในการเดินทางและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น


มี การแบ่งความสูญเปล่าออกเป็น 7 ประการ ซึ่งบริษัทโตโยต้า ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ได้ยึดถือปฏิบัติมาหลายสิบปีจนประสบความสำเร็จอย่าง เช่นทุกวันนี้ ดังนี้


  1. ความสูญเปล่าจากการผลิตเกินกว่าความจำเป็น
  2. ความสูญเปล่าจากการรองาน
  3. ความสูญเปล่าจากการเคลื่อนย้าย
  4. ความสูญเปล่าจากวิธีการผลิต
  5. ความสูญเปล่าจากสต๊อกที่มากเกินไป
  6. ความสูญเปล่าจากการเคลื่อนไหวของคนหรือเครื่องจักร
  7. ความสูญเปล่าจากการผลิตของเสีย

Mura หรือความไม่สม่ำเสมอ งานที่มีความไม่สม่ำเสมอไม่ว่าจะเป็นในเรื่องปริมาณงาน วิธีการทำงาน หรืออารมณ์ในการทำงาน ทำให้เกิดความไม่สม่ำเสมอของผลงานตามไปด้วย นั่นหมายความว่า ผลงานที่ออกมาไม่เป็นไปตามมาตรฐาน หากทุกคนสามารถรักษามาตรฐานของงานไว้ได้ ก็จะทำให้ประสิทธิภาพของงานสูงขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ในการประชุมไม่เคยมีผู้เข้าร่วมประชุมพร้อมหน้าเลย ครั้งนี้ขาดนนั้น ครั้งนั้นขาดคนนี้ และในการทำกิจกรรมการขายก็เช่นเดียวกัน พนักงานอาจมีความตั้งในที่ไม่สม่ำเสมอ ถ้าไม่ถึงปลายเดือนก็ไม่พยายามขาย เป็นต้น


Muri หรือการฝืนทำ การฝืนทำสิ่งใดๆ ก็ตามมักทำให้เกิดผลกระทบบางอย่างในระยะยาว ยกตัวอย่างเช่น การทำงานล่วงเวลาเป็นประจำ เป็นการฝืนร่างกายซึ่งไม่เป็นผลดีในระยะยาว อาจทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ในการประชุม หากยังไม่มีการปรึกษาหารือที่มากเพียงพอ แต่กลับเร่งรัดให้มีการลงมติ ก็จะได้ข้อสรุปที่ผิดพลาด ส่วนในด้านการขายนั้น การฝืนลดราคาเพื่อให้ได้รับออเดอร์ หรือการรับงานที่ต้องส่งมอบเร็วเกินไปก็ไม่ส่งผลดีเช่นกัน


หากเราค้นหาและกำจัด Muda ความสูญเปล่า Mura ความไม่สม่ำเสมอ และ Muri การฝืนทำให้หมดไปได้ งานที่ทำก็จะสำเร็จลุล่วงด้วยดี



คนเราทุกคนล้วนมีเป้าหมายในการทำงานด้วยกันทั้งนั้น ว่าจะทำอย่างไรจึงจะสามารถคว้าธงที่ปักไว้ ณ ปลายทางให้จงได้ บางคนคิดแต่จะมองมุ่งไปข้างหน้าแต่เพียงอย่างเดียวจนไม่เห็นความสำคัญของ สิ่งที่อยู่ระหว่างทาง สิ่งที่อยู่รอบตัวเรา ที่สามารถส่งเสริมให้เราไปถึงเป้าหมายได้อย่างมั่นคง จะมีประโยชน์อะไรที่จะขึ้นไปยืนอยู่บนจุดสูงสุดแต่เพียงลำพัง การประสบความสำเร็จแต่ต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวไม่ใช่ความสำเร็จที่แท้จริง หากคุณหยุดมองและให้ความสำคัญกับสิ่งรอบตัว เอาใจใส่เพื่อนร่วมงานของคุณและเคียงข้างไปด้วยกัน เพื่อให้คุณพบกับความสำเร็จที่เต็มไปด้วยความอบอุ่น น่าจะทำให้คุณสุขใจมากกว่า อย่าละเลยความรู้สึกของผู้อื่น คำแนะนำเล็ก ๆ น้อย ๆ ต่อไปนี้ อาจเป็นประโยชน์สำหรับคุณ


1. อย่าหยิบของคนอื่นโดยพลการ

ไม่ว่าจะเป็นอะไร เล็กน้อยสักแค่ไหน อย่างเช่น เครื่องเขียน กรรไกร ไม้บรรทัด สก็อตเทป ถ้าไม่ใช่ของเราก็ต้องขออนุญาตเจ้าของก่อนทุกครั้ง และที่สำคัญขอยืมมาใช้แล้วต้องนำไปคืนอย่างรวดเร็วทุกครั้งด้วย อย่าปล่อยให้ถูกทวงถามแล้วจึงจะคืน เพื่อนจะรู้สึกไม่ดีกับคุณได้


2. รักที่ทำงานให้เหมือนรักบ้านของคุณ

รักษาความสะอาดในพื้นที่ที่ไม่ใช่ของคุณให้เหมือนกับเป็นบ้านของคุณเอง เช่นในครัวและในห้องน้ำ พื้นที่ส่วนรวมหรืออุปกรณ์ส่วนรวมมักถูกมองข้าม เพราะคิดว่าไม่ใช่ของตนจึงไม่ดูแลรักษา หากทุกคนดูแลของทุกอย่างที่เป็นส่วนรวมให้เหมือนกับของของตนเอง ออฟฟิศก็จะน่าอยู่เหมือนกับบ้านของคุณ


3. อย่าโต้ตอบผู้อื่นด้วยความรุนแรง และไม่สุภาพ

หากมีคนส่งเสียงดังรบกวนคุณเวลาที่คุณต้องใช้สมาธิในการทำงาน อย่าตอบโต้ด้วยการตะโกนเสียงดังกลับไปด้วยอารมณ์โกรธ หรือใช้ถ้อยคำรุนแรง ไม่สุภาพ หรือใช้กำลังต่อกัน เพียงคุณเตือนเขาด้วยสายตาที่จริงจัง ซึ่งปกติคนเราก็สามารถเข้าใจได้อยู่แล้วว่า คุณกำลังไม่พอใจที่เขาส่งเสียงดังเช่นนั้น


4. รู้จักสร้างสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน

แม้ว่าทุกคนจะมีโทรศัพท์ และอีเมลเป็นของตัวเอง แต่ในบางครั้งคุณอาจเลือกที่จะไม่ใช้มัน เดินไปคุยกับเพื่อนร่วมงาน ให้ได้เห็นหน้าค่าตากันเป็นประจำจะช่วยสร้างสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานได้ดีกว่าการยกหูโทรศัพท์หรือส่งอีเม ลหากันเสียอีก นอกจากนั้นยังเป็นการช่วยให้คุณได้เปลี่ยนอิริยาบถ ได้ยืดเส้นยืดสาย
เสียบ้าง ไม่ต้องนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ทั้งวัน ป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม โรคฮิตของคนทำงานออฟฟิศได้อีกด้วย


5. อย่าเปิดเผยความลับของคนอื่น

ความลับก็คือความลับ ถ้าคุณเข้าใจความหมายและความสำคัญของมัน คุณจะไม่มีวันแพร่งพรายความลับให้คนอื่นรู้ และหากคุณจำเป็นต้องรักษาความลับของผู้อื่น จงปิดมันให้มิดที่สุด เพราะถ้าคุณได้เปิดเผยความลับของผู้อื่นออกไป อย่าหวังว่าเขาจะไว้ใจบอกความลับอะไรให้คุณรู้อีก


6. อย่าคาดหวังให้คนอื่นรับภาระแทนคุณ

งานในหน้าที่ของคุณ ควรจะต้องทำให้เสร็จภายในกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ อย่าลางานในวันที่ถึงกำหนดส่งงาน แล้วให้เพื่อนร่วมงานของคุณรับภาระงานนั้นแทนคุณ จำไว้เสมอว่าไม่มีใครอยากจะร่วมงานกันคนที่เอาเปรียบผู้อื่นหรอก


7. อเมริกันแชร์

เวลาไปกินไปดื่มกับเพื่อนร่วมงาน ต้องช่วยกันจ่ายด้วย จ่ายเกินไปบ้างก็ไม่เป็นไร แต่ไม่ควรจ่ายขาด หากมีใครที่ออกสตางค์ไปก่อน อย่าลืมจ่ายคืนให้กับเขาอย่างรวดเร็ว แม้ว่าเขาจะไม่ทวงถามก็ตาม


8. อย่านินทาคนอื่นลับหลัง

ถ้าคุณนินทาคนอื่นให้ใคร ๆ ฟัง คนที่ฟังคุณนินทาเขาก็จะคิดว่า วันหน้าวันหลังคุณอาจนินทาเขาได้เหมือนกัน บางคนพอดื่มเหล้าดื่มเบียร์เข้าไปก็พูดความในใจออกมาหมดว่าไม่ชอบใคร อย่างไร แต่เมื่อคุณไปทำงานในวันรุ่งขึ้น คุณจะพบว่าคนอื่น ๆ มองคุณเปลี่ยนไป และเป็นความเปลี่ยนแปลงในแง่ลบเสียด้วย


9. ยินดีกับความสำเร็จของผู้อื่นอย่างจริงใจ

เมื่อทราบข่าวความสำเร็จของเพื่อนร่วมงาน เช่น ได้เลื่อนตำแหน่ง คุณควรจะยินดีในความสำเร็จของเพื่อนอย่างจริงใจ มากกว่าที่จะรู้สึกอิจฉาที่เขาก้าวหน้ากว่าคุณ และอาจจะใช้โอกาสนี้ในการศึกษาเพื่อนของคุณ เพื่อเป็นแบบอย่างความสำเร็จ ว่าเขาทำงานอย่างไรถึงได้เป็นที่ยอมรับและได้เลื่อนตำแหน่งในครั้งนี้


10. อย่าดูถูกคนที่มีตำแหน่งต่ำกว่า

คนเราเริ่มต้นจากตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง แม้ว่าตำแหน่งนั้นจะดูต่ำต้อย ก็ไม่ควรดูถูกผู้อื่น ยกตัวอย่างตำแหน่งผู้ช่วย อย่าดูถูกผู้ช่วยของคุณ เพราะไม่แน่ว่าสักวันหนึ่งเขาอาจขึ้นมาเป็นหัวหน้าของคุณก็ได้


ความสำเร็จในการทำงานนั้นส่วนหนึ่งมาจากเพื่อนร่วมงาน หากคุณสามารถเข้ากับเพื่อนร่วมงานได้ดี ทีมของคุณก็จะเข้มแข็งเหนือกว่าทีมอื่น การเป็นที่รักของเพื่อนร่วมงานยังทำให้คุณมีคนที่พร้อมจะช่วยเหลือคุณเวลา ที่คุณประสบปัญหา คุณจะมีเพื่อนอยู่เคียงข้างเสมอเวลามีความทุกข์ และมีคนที่พร้อมจะยินดีกับคุณเวลามีความสุขและประสบความสำเร็จอย่างที่ ตั้งใจ



โดย JobsDB



ความมุ่งหมายหนึ่งในชีวิตของเราทุกคน คือ การทำงานอย่างมีความสุข
แต่ สิ่งที่พบเห็นจนชินตา คือภาพคนทำงานที่เคร่งเครียด มีร่องรอยความกังวลอยู่บนใบหน้า คล้ายๆ กับว่า งานเป็นภารกิจหลักๆ ของชีวิต ที่มีน้ำหนักกระทบต่อความรู้สึกของผู้คน ทำให้รู้สึกเหนื่อย รู้สึกว่ามีปัญหาต้องคอยสะสาง วิตกกังวลจนถึงขั้นเครียด และเป็นทุกข์

คำถามคือ...เราจะก้าวข้ามความทุกข์ไปสู่ความสุขได้อย่างไร

ทราบไหมคะ ว่าบุคลิกภาพนั้น เป็นพื้นฐานสำคัญที่ช่วยให้คนทำงาน ต้องเผชิญกับความทุกข์หรือความสุขได้

หาก เรารู้จักพื้นฐานของบุคลิกภาพที่ดี และทำให้พื้นฐานเหล่านี้มีอยู่ในตัวเอง เราก็จะบรรลุเป้าหมายในการทำงาน ทั้งผลตอบแทน ความมั่นคง ความก้าวหน้า เกียรติยศ ความสำเร็จ และความสุข

พื้นฐานบุคลิกภาพที่ดี ที่จะมีผลต่อความสุขในการทำงานนั้น มีอะไรบ้าง

  1. เป็นคนมองโลกในแง่ดี
  2. การ มีพื้นฐานของการมองโลกในแง่ดี จะทำให้เรามองเห็นความปกติของความวุ่นวาย ความปกติของการทำงานแล้วมีปัญหา และความปกติในความไม่ปกติอื่นๆ อีกมาก

    ก็ เพราะนี่คือการทำงานร่วมกับคนหมู่มาก มีหลายเรื่องเป็นเรื่องยาก และอีกส่วนหนึ่งเป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนือจากการควบคุมของเรา ฉะนั้น มันก็ต้องมีปัญหาบ้าง นำความไม่สบายใจหรือความไม่พึงพอใจมาสู่เราบ้าง เป็นเรื่องธรรมดา

    ปัญหา มันอยู่ที่ สิ่งที่เราสามารถควบคุมและจัดการได้ต่างหาก เราทำอะไรกับสิ่งเหล่านี้อยู่ ทำอย่างดี อย่างเต็มที่ ทำอย่างถูกต้อง และละเอียดรอบคอบเพียงใด ถ้าเรารับผิดชอบในส่วนของเราเต็มที่แล้ว ก็มาดูว่าปัญหาเกิดในส่วนไหน และจะแก้ไขอย่างไร

    คน ที่มีพื้นฐานการมองโลกในแง่ดีจะไม่หยุดอยู่กับปัญหา พร่ำบ่น คร่ำครวญ ฟูมฟาย หรือเอาแต่ไล่เบี้ยหาตัวคนผิด เขาจะมองมันเพื่อพิจารณาว่าอะไรทำให้เกิดปัญหา หรือปัญหาเกิดมาจากไหน เพื่อที่จะได้แก้ไขและจบปัญหา พื้นฐานเช่นนี้ทำให้เขาเป็นคนที่มีประสิทธิภาพ น่านับถือ และมีความสุขได้ ท่ามกลางการทำงานที่แม้จะมีปัญหาติดขัดเกิดขึ้นเป็นระยะๆ

  3. เป็นคนที่รู้จักขอโทษและรับกับความผิดพลาดได้
  4. เราไม่ใช่ผู้วิเศษ จึงมีโอกาสที่จะผิดพลาดกันทั้งนั้น แต่ต้องรู้จักยอมรับและขอโทษได้

    หลาย คนเป็นพวก “ผิดไม่ได้” คนพวกนี้มีความทุกข์มาก เพราะทุกครั้งที่เกิดความผิดพลาดในการทำงานขึ้นมา เขาจะต้องหาวิธีลากตัวเองให้พ้นผิด ผิดไม่ได้ ผิดไม่เป็น จนบางครั้งแก้ตัวข้างๆ คูๆ คนประเภทนี้โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานมีน้อยมาก หรือหากมีก็มักจะเป็นที่ติฉินนินทาของลูกน้องและเพื่อนร่วมงานอยู่เสมอ

    เมื่อ “สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง” จะเป็นอะไรไปที่เราจะผิดสักครั้ง แต่ผิดแล้วต้องเรียนรู้ ผิดแล้วต้องรู้สึกผิดแล้วขอโทษ จากนั้นช่วยกันหาวิธีแก้ไขและป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดซ้ำเดิมขึ้นมาได้ เท่านี้เราก็สามารถข้ามปัญหาที่เกิดขึ้นไปสู่เรื่องอื่นๆ ได้แล้ว ไม่อย่างนั้นก็ต้องจมอยู่กับความผิด การโทษกันไปโทษกันมา และความพยายามที่จะเอาตัวรอดเท่านั้นเอง

  5. เป็นคนมีอัธยาศัย
  6. หมายถึงการเป็นคนมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส และใจกว้าง

    คน ที่มีบุคลิกลักษณะอย่างนี้ จะอารมณ์ดีอยู่เป็นนิจ จะเข้าใจคน รู้ว่าแต่ละคนมีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร จะรู้จักเห็นอกเห็นใจและคอยสนับสนุนช่วยเหลือผู้อื่นได้ตรงจุด

    ความ มีมนุษย์สัมพันธ์ดีจะทำให้เขาออกปากขอความช่วยเหลือผู้อื่นได้ง่าย โดยเฉพาะในงานที่เกินกำลัง หรือไม่สอดคล้องกับความเชี่ยวชาญ เขาสามารถขอความช่วยเหลือโดยมีคนพร้อมที่จะช่วยเหลือเขาได้ทันที เพราะติดค้างในความเป็นคนดี คนน่ารักของเขา

    ความ ยิ้มแย้มแจ่มใส ทำให้บรรยากาศในการทำงานดี สมองปลอดโปร่ง อารมณ์แจ่มใส คิดอะไรออกง่าย ทำอะไรทั้งหนักและเบาได้อย่างราบรื่น

    ส่วน ความใจกว้าง จะทำให้เขาเปิดรับคนทุกระดับอายุ ทุกระดับความรู้ และทุกระดับการบังคับบัญชา คนทั่วไปจะรักและชื่นชมเขา ให้ความสนิทสนม ความไว้วางใจ เขาจะกลายเป็นที่ต้องการของทุกๆ ที่

    ดังนั้น อัธยาศัยไมตรีจึงเป็นประตูสู่โอกาสที่ดีในอนาคต

  7. เป็นคนมีกาลเทศะ
  8. คนที่รู้จัก “กาลเทศะ” จะสามารถวางตัวและปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่สร้างปัญหา

    การไม่สร้างปัญหาให้เกิด ถือเป็นหน้าที่พื้นฐานของคนทำงานทุกคน ขณะที่การมีประสิทธิภาพคือ “แต้มต่อ” ในการทำงาน

    มันคือการ “เปล่งแสง” ของตัวคุณเอง แล้วจะไป “เข้าตา” ผู้บริหาร โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานจะมีมาก

    กาลเทศะ ที่ว่า ไม่ใช่แค่มารยาทในการเข้าสังคมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเคารพระเบียบวินัยของบริษัท การแต่งเนื้อแต่งตัว พูดจาพาที ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ ได้อย่างเหมาะสม พอเหมาะพอดี ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป ไม่เป็นที่เดือดร้อนรำคาญของใคร และมีคุณค่าในทุกๆ ที่ที่เขาปรากฏตัว

    นอกจากนี้ยังรวมถึงการตรงต่อเวลา การใช้เวลาทำงานสร้างคุณค่าแก่เนื้องาน แก่ความรับผิดชอบ และแก่องค์กรด้วย

  9. เป็นคนที่มีพัฒนาการ
  10. หัวใจ สำคัญข้อหนึ่งของบุคลิกภาพ คือ เป็นคนที่มีพัฒนาการ เปลี่ยนแปลงตัวเองอยู่เสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป โดยเน้นการเปลี่ยนแปลงในทางบวกหรือทางสร้างสรรค์

    เช่น เปลี่ยนแปลงการแต่งกาย ทรงผม และการแต่งหน้าให้รับกับสมัยนิยมอย่างพอเหมาะพอเจาะ ไม่โอเว่อร์หรือเชยเฉิ่ม

    เปลี่ยน แปลงการพูดการจา โดยการพูดให้ชัดถ้อยชัดคำ พูดให้คนฟังฟังรู้เรื่อง พูดไม่มากหรือน้อยเกินไป พูดอย่างสุภาพ มีเสน่ห์จับใจ

    หา ความรู้เพิ่มเติม โดยการเรียนต่อ เทคคอร์ส เข้ารับการฝึกอบรม ฟังบรรยาย ร่วมการเสวนา หรือแม้แต่ซื้อหาหนังสือมาอ่านเพิ่มเติม ฝึกฝนตัวเองจนชำนาญในการงานที่ทำมาโดยตลอด เรียกว่าเรียนรู้จากการปฏิบัติ หรือ Learning by doing

    ทั้ง หมดที่กล่าวมานี้จะนำความเปลี่ยนแปลงในทางดีหรือทางก้าวหน้ามาสู่ตัวคุณ และคุณจะเป็นที่สะดุดตาของเพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา ตลอดจนเจ้านายของคุณเอง ไม่ใช่เรื่องยากที่แต่ละคนจะฝึกฝนและปฏิบัติ หากรักที่จะให้ชีวิตมีความสุขและก้าวหน้าไปตามลำดับขั้น ก็โปรดปฏิบัติตามนั้นและเพิ่มเติมสิ่งที่ดีอื่นๆ เข้าไปอีก


ขอให้มีความสุขและความสำเร็จกันทุกคนนะคะ

ที่มา : www.atofficemag.com



พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 (กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน)

ได้ปรับปรุงพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกอาชีพ พ.ศ. 2537 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการฝึกอาชีพแก่บุคคลซึ่งอยู่ในวัยทำงานให้มีฝีมือสอดคล้องกับความต้องการของ ธุรกิจอุตสาหกรรมและเพื่อให้บุคคลซึ่งทำงานอยู่แล้วได้รับการฝึกเพื่อยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงานและการทดสอบมาตรฐาน ฝีมือแรงงานรวมทั้งเพื่อให้มีการร่วมมือระหว่างสถานประกอบการและสถานศึกษาในการรับนักเรียน นิสิต นักศึกษาเข้ารับการฝึกในสถานประกอบการ และการส่งผู้รับการฝึกหรือผู้ซึ่งสถานประกอบการจะรับเข้าทำงานไปรับการฝึกอาชีพใน สถานศึกษาหรือสถานฝึกอาชีพของทางราชการทั้งนี้ผู้ที่ที่ได้มีการฝึกอบรมฝีมือแรงงานตามหลักสูตรและราย ละเอียดเกี่ยวกับการฝึกอบรมฝีมือแรงงานที่นายทะเบียนได้พิจารณาให้เห็นชอบจะดำเนินการฝึกอาชีพมีได้รับสิทธิและประโยชน์ ตามพระราชบัญญัตินี้เพื่อให้นายจ้างและ สถานประกอบกิจการมีส่วนร่วมในการพัฒนาฝีมือแรงงานรวมทั้งให้มีการจัดตั้งกอง ทุนพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อเป็นทุน หมุนเวียนสำหรับใช้จ่ายเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน


พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 (กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน)

กฎหมายแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับมาตรฐานสิทธิประโยชน์และความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหาร และลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ เป็นกฎหมายที่กำหนดสิทธิในการร่วมเจรจาต่อรอง ตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการยื่นข้อเรียกร้อง เพื่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง การระงับ ข้อพิพาทแรงงาน การจัด ตั้งสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ เพื่อแสวงหา และคุ้มครองประโยชน์เกี่ยวกับการจ้างให้รัฐวิสาหกิจ การกำหนดให้มีคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ซึ่งเป็นคณะกรรมการไตรภาคีที่จะกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ การกำหนดให้มีคณะกรรมการ กิจการสัมพันธ์ในรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง ซึ่งเป็นคณะกรรมการทวิภาคีเพื่อการปรึกษาหารือให้เกิดความเข้าใจซึ่งกัน และกันและหาทางปรองดองให้การทำงานของฝ่ายบริหารและลูกจ้างรัฐวิสาหกิจเกิดสันติสุข




พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 (กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน)

กฎหมายคุ้มครองแรงงาน เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง เป็นกฎหมายที่กำหนด มาตรฐานขั้นต่ำในการใช้แรงงานทั่วไป การใช้แรงงานหญิง การใช้แรงงานเด็ก ค่าตอบแทนการทำงาน สวัสดิการ ความปลอดภัยในการทำงาน ค่าชดเชยการเลิกจ้าง และกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง รวมทั้งการดำเนินการของพนักงาน เจ้าหน้าที่ในการให้ความคุ้มครองลูกจ้าง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและให้ลูกจ้างมีสุขอนามัย ที่ดี อันจะเกิด ประโยชน์สูงสุดแก่นายจ้าง ลูกจ้าง และการพัฒนาประเทศ


พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 (สำนักงานประกันสังคม)

กำหนดให้มีการจัดเก็บเงินสมทบจากนายจ้างปีละหนึ่งครั้ง ในอัตราร้อยละ 0.2-1.0 ของค่าจ้าง ตามลักษณะความเสี่ยงภัย ของประเภทกิจการนั้นๆเงินสมทบที่จัดเก็บได้นี้ให้นำไปจ่ายเป็น เงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างที่ประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย สูญเสียอวัยวะ สูญเสียสมรรถภาพของร่างกายตายหรือสูญหายอันเนื่องมาจากการทำงานให้กับนาย จ้าง ดยลูกจ้างจะได้รับเงินทดแทนเป็นค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทนการขาดรายได้ ค่าทำศพ หรือค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ ในการทำงาน ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับของการประสบอันตรายนั้นๆ


พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 (สำนักงานประกันสังคม)

กำหนดให้มีการจัดเก็บเงินสมทบจากนายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาล เพื่อให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างที่ประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตายที่มิใช่เป็นผลสืบเนื่องจากการทำงาน รวมทั้งกรณีคลอดบุตร กรณีสงเคราะห์บุตร กรณีชราภาพ และกรณีว่างงาน โดยอัตราเงินสมทบกรณีประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย และคลอดบุตร ให้จัดเก็บในอัตรารวม 3 ฝ่ายไม่เกินร้อยละ 4.5 ของค่าจ้าง สำหรับกรณีสงเคราะห์บุตรและกรณีชราภาพ ให้จัดเก็บใน อัตรารวม 3 ฝ่ายไม่เกินร้อยละ 9 ของค่าจ้าง และกรณีว่างงาน ให้จัดเก็บในอัตรารวม 3 ฝ่ายไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้าง ทั้งนี้ลูกจ้างที่เข้าข่ายจะได้รับบริการทางการแพทย์และเงินทดแทนการขาดรายได้ รวมถึงค่าคลอดบุตร ค่าทำศพ เงินสงเคราะห์ทายาทในกรณีตาย ค่าสงเคราะห์บุตร และเงินบำเหน็จบำนาญ กรณีชราภาพ สำหรับกรณีว่างงาน จะดำเนินการเมื่อใดให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาขึ้นใช้บังคับ


พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 (กรมการจัดหางาน)

เดิมมี พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2511 บังคับใช้ จนกระทั่งได้มีการประกอบธุรกิจในการจัดส่งคนหางานไปทำงานในต่างประเทศจำนวนมากขึ้น และมีการหลอกลวงคนหางาน จึงได้มีการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติจัดหางานฯ พ.ศ.2511 มาเป็น พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 (พระราชบัญญัติ ดังกล่าวมีการแก้ไขเพิ่มเติมในปี 2537 และปี 2538) โดยมีสาระสำคัญ คือ

1.) ให้มีสำนักงานจัดหางานของรัฐที่จะให้บริการจัดหางานแก่ประชาชนโดยไม่คิดมูลค่า
2.) ขยายรูปแบบการคุ้มครองคนหางานให้ได้รับความเป็นธรรม และได้รับการช่วยเหลือเมื่อประสบความเดือดร้อน
3.) ควบคุมและดูแลการประกอบธุรกิจจัดหางานของเอกชนอย่างจริงจัง ทั้งนี้
  • ผู้ขออนุญาตจัดหางานในประเทศ จะต้องมีสัญชาติไทย และมีหลักประกัน เป็นจำนวนเงินหนึ่งแสนบาทวาง ไว้กับนายทะเบียน เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตจัดหางาน ดังกล่าวเป็นนิติบุคคล นิติบุคคลนั้นต้องมีสัญชาติไทยและมีผู้จัดการซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่ มีลักษณะต้องห้าม
  • ผู้ขออนุญาตจัดหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ จะต้องเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด มีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท มีผู้จัดการซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม และมีหลักประกันเป็นจำนวนเงินห้าล้านบาทวางไว้ กับนายทะเบียนจัดหางานกลาง เพื่อเป็นหลักประกัน การปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
4.) กำหนดให้ผู้รับอนุญาตจัดหางานเพื่อไปทำงานต่างประเทศ ส่งคนหางานเข้ารับการทดสอบฝีมือ

5.) กำหนดมาตรการในการควบคุมการดำเนินการทดสอบฝีมือ โดยให้อยู่ในความรับผิดชอบของกรมพัฒนา ฝีมือแรงงาน ทั้งนี้การดำเนินการทดสอบฝีมืออาจจะดำเนินการโดยสถานทดสอบฝีมือของรัฐ หรือดำเนินการโดยสถานทดสอบฝีมือของเอกชน


พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 (กรมการจัดหางาน)

บัญญัติไว้ควบคุมการทำงานของคนต่างด้าวที่ขออนุญาตทำงานในประเทศไทย และสงวนอาชีพบางอย่างไว้สำหรับคนไทยโดยคนต่างด้าวที่จะขออนุญาตทำงานได้มี 3 ประเภท คือ

  • คนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว แต่ไม่ใช่ นักท่องเที่ยว หรือผู้เดินทางผ่าน
  • คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักร ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนหรือตามกฎหมายอื่น
  • คนต่างด้าวที่ถูกเนรเทศ ซึ่งได้รับการผ่อนผันให้ไปประกอบอาชีพ ณ ที่แห่งใดแทนการเนรเทศ หรืออยู่ใน ระหว่างรอการเนรเทศ คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรืออยู่ในระหว่างรอการส่งกลับออกนอกราชอาณาจักร คนต่างด้าวที่เกิดในราชอาณาจักรแต่ไม่ได้รับสัญชาติไทยหรือถูกถอนสัญชาติ ซึ่งสามารถทำงานได้ 27 อาชีพตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด


พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 (กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน)

กฎหมายแรงงานสัมพันธ์เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับกระบวนการเสริมสร้างระบบแรงงานสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างโดย กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการยื่นข้อเรียกร้องเพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง การระงับข้อพิพาทแรงงาน
สิทธิของนายจ้างลูกจ้างในการจัดตั้งสมาคม และสหภาพแรงงาน เพื่อแสวงหาและคุ้มครองประโยชน์เกี่ยวกับการจ้าง การจัดสวัสดิการและส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง การจัดตั้งคณะกรรมการลูกจ้าง เพื่อหารือ กิจการต่างๆ กับนายจ้างเป็นการสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันและหาทางปรองดอง ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง เพื่อให้เกิดความสงบสุขในอุตสาหกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ


การ แนะแนวอาชีพ เป็นกระบวนการสนับสนุนและส่งเสริมเพื่อให้ประชาชนมีงานทำโดยสอดคล้องกับความ ต้องการของตลาดแรงงาน กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้จัดให้มีการแนะแนวอาชีพแก่นักเรียน นักศึกษา ผู้หางานทำ และประชาชนทั่วไปอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ โดยมุ่งหวังให้เกิดความเข้าใจในโลกของอาชีพและการทำงาน ซึ่งจะทำให้สามารถเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวอย่างยั่งยืนไป การแนะแนวอาชีพจะช่วยให้เกิดความเข้าใจและสามารถตัดสินใจเลือกอาชีพได้ด้วย ตนเอง อย่างสอดคล้องเหมาะสมกับความรู้ความสามารถ ความถนัด ความเข้าใจ ค่านิยม ของสังคม ตลอดจน สภาวะทางเศรษฐกิจ


ข้อมูลอาชีพ จัดทำขึ้นโดยกองส่งเสริมการมีงานทำ กรมการจัดหางาน เพื่อประโยชน์แก่นักแนะแนวอาชีพ นักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง ผู้หางานทำ ครูแนะแนว และประชาชนทั่วไป ที่จะใช้เป็นข้อมูลศึกษาในรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับ ลักษณะและสภาพการทำงาน โอกาสการมีงานทำ ความก้าวหน้าของแต่ละอาชีพ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมของตนเองก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยประกอบด้วยข้อมูลอาชีพต่าง ๆ ซึ่งเป็นอาชีพที่สำคัญ และเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน จำนวน 100 อาชีพ โดยแยกตามกลุ่มบุคลิกภาพ 6 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 บุคลิกภาพแบบจริงจังไม่คิดฝัน นิยมความจริง (Realistic) อาทิเช่น ช่างฟิต วิศวกรโยธา ฯลฯ

กลุ่มที่ 2 บุคลิกภาพแบบที่ต้องการใช้เชาว์ปัญญา (Investigative) อาทิเช่น เภสัชกร นักวิเคราะห์การตลาด ฯลฯ

กลุ่มที่ 3 บุคลิกภาพแบบมีศิลปะ (Artistic) อาทิเช่น ผู้สื่อข่าว ภูมิสถาปนิก ฯลฯ

กลุ่มที่ 4 บุคลิกภาพแบบที่ชอบสมาคมสังคมกับบุคคลอื่น (Social) อาทิเช่น ครู อาจารย์ ช่างเสริมสวย ฯลฯ

กลุ่มที่ 5 บุคลิกภาพแบบกล้าคิดกล้าทำ (Enterprising) อาทิเช่น ทนายความ พนักงานขาย ฯลฯ

กลุ่มที่ 6 บุคลิกภาพที่ทำตามระเบียบแบบแผน (Conventional) อาทิเช่น เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เลขานุการ ฯลฯ


เรื่องของคำศัพท์นี่ก็มองข้ามไปไม่ได้เหมือนกัน เพราะในบางบริษัทก็อาจจะ ให้เรา กรอกใบสมัครงานที่เป็นภาษาอังกฤษ หรืออาจมีการสัมภาษณ์งาน เป็น ภาษา อังกฤษ โดยเราอาจจะได้เจอศัพท์ที่ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวัน ทางที่ดีก็ เตรียม ป้องกันเอาไว้ก่อน

Actor นักแสดงชาย
Actress นักแสดงหญิง
Accountant สมุห์บัญชี
Archeologist นักโบราณคดี
Artist จิตรกร
Architecture สถาปนิก
Auditor ผู้ตรวจสอบบัญชี
Author นักประพันธ์
Air-hostess พนักงานต้อนรับหญิงบนเครื่องบิน
Announcer โฆษก
Agriculturist กสิกร
Banker นายธนาคาร
Barrister เนติบัณฑิต
Book-keeper พนักงานทำบัญชี
Bartender พนักงานประจำบาร์
Bill collector คนเก็บเงิน
Biologist นักชีววิทยา
Botanist นักพฤกษศาสตร์
Broker นายหน้า
Businessman นักธุรกิจชาย
Businesswoman นักธุรกิจหญิง
Camera man ช่างถ่ายภาพ
Cashier คนรับจ่ายเงิน
Cobbler ช่างซ่อมรองเท้า
Cook คนทำครัว
Chauffeur คนขับรถ
Chemist นักเคมี
Contractor ผู้รับเหมา
Composer นักแต่งเพลง
Correspondent ผู้ตอบโต้จดหมาย, ผู้สื่อข่าว
Clerk เสมียน
Decorator ช่างแต่งบ้าน
Dentist ทันตแพทย์
Detective นักสืบ
Doctor แพทย์
Diplomat นักการฑูต
Dressmaker ช่างตัดเสื้อสตรี
Draftsman คนวาดภาพหรือออกแบบ
Driver คนขับรถ
Editor บรรณาธิการ
Electrician ช่างไฟฟ้า
Export officer เจ้าหน้าที่ส่งออก
Foreman หัวหน้าคนงาน
Gardener คนทำสวน
Geographer นักภูมิศาสตร์
Government officer ข้าราชการ
Graphic designer นักออกแบบ
Guide มัคคุเทศก์
Hair-dresser ช่างแต่งผมสตรี
Inspector ผู้ตรวจการ
Interpreter ล่าม
Jeweller คนขายเพชรพลอย
Janitor ภารโรง
Journalist นักหนังสือพิมพ์
Labourer, Laborer กรรมกร
Lawyer ทนายความ
Messenger คนส่งเอกสาร
Merchant พ่อค้า
Model นางแบบ
Nurse นางพยาบาล
Novelist นักแต่งนิยาย
Oculist จักษุแพทย์
Programmer นักเขียนโปรแกรม
Photographer ช่างภาพ
Policeman เจ้าหน้าที่ตำรวจ
Reporter ผู้สื่อข่าว
Receptionist พนักงานต้อนรับ
Researcher นักวิจัย
Selesman พนักงานขายของ
Scientist นักวิทยาศาสตร์
Secretary เลขา
Security officer เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
Shipping clerk เสมียนออกของ
Singer นักร้อง
School master ครูชาย
School mistress ครูหญิง
Shoe maker ช่างทำรองเท้า
Shop keeper เจ้าของร้าน
Supervisor ผู้ตรวจการ
Surveyor ช่างสำรวจ
Sport man นักกีฬา
Stenographer นักเขียนชวเลข
Surgeon ศัลยแพทย์
Tailor ช่างตัดเสื้อชาย
Telephone operator พนักงานตอบรับโทรศัพท์
Technician ช่างเทคนิค
Trader พ่อค้า
Translator พนักงานแปล
Waiter พนักงานเสิร์ฟอาหารชาย
Waitress พนักงานเสิร์ฟอาหารหญิง
Writer นักเขียน