พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 (กรมการจัดหางาน)

เดิมมี พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2511 บังคับใช้ จนกระทั่งได้มีการประกอบธุรกิจในการจัดส่งคนหางานไปทำงานในต่างประเทศจำนวนมากขึ้น และมีการหลอกลวงคนหางาน จึงได้มีการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติจัดหางานฯ พ.ศ.2511 มาเป็น พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 (พระราชบัญญัติ ดังกล่าวมีการแก้ไขเพิ่มเติมในปี 2537 และปี 2538) โดยมีสาระสำคัญ คือ

1.) ให้มีสำนักงานจัดหางานของรัฐที่จะให้บริการจัดหางานแก่ประชาชนโดยไม่คิดมูลค่า
2.) ขยายรูปแบบการคุ้มครองคนหางานให้ได้รับความเป็นธรรม และได้รับการช่วยเหลือเมื่อประสบความเดือดร้อน
3.) ควบคุมและดูแลการประกอบธุรกิจจัดหางานของเอกชนอย่างจริงจัง ทั้งนี้
  • ผู้ขออนุญาตจัดหางานในประเทศ จะต้องมีสัญชาติไทย และมีหลักประกัน เป็นจำนวนเงินหนึ่งแสนบาทวาง ไว้กับนายทะเบียน เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตจัดหางาน ดังกล่าวเป็นนิติบุคคล นิติบุคคลนั้นต้องมีสัญชาติไทยและมีผู้จัดการซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่ มีลักษณะต้องห้าม
  • ผู้ขออนุญาตจัดหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ จะต้องเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด มีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท มีผู้จัดการซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม และมีหลักประกันเป็นจำนวนเงินห้าล้านบาทวางไว้ กับนายทะเบียนจัดหางานกลาง เพื่อเป็นหลักประกัน การปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
4.) กำหนดให้ผู้รับอนุญาตจัดหางานเพื่อไปทำงานต่างประเทศ ส่งคนหางานเข้ารับการทดสอบฝีมือ

5.) กำหนดมาตรการในการควบคุมการดำเนินการทดสอบฝีมือ โดยให้อยู่ในความรับผิดชอบของกรมพัฒนา ฝีมือแรงงาน ทั้งนี้การดำเนินการทดสอบฝีมืออาจจะดำเนินการโดยสถานทดสอบฝีมือของรัฐ หรือดำเนินการโดยสถานทดสอบฝีมือของเอกชน


This entry was posted on 09:12 and is filed under . You can follow any responses to this entry through the RSS 2.0 feed. You can leave a response, or trackback from your own site.

0 comments: