กระทรวงแรงงานแนะมาตรการบรรเทาปัญหาการเลิกจ้าง

งานบริหาร

ผล พวงจากวิกฤติการเงินโลก บวกกับความไม่มั่นคงทางการเมืองในบ้านเรานำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่หลาย ฝ่ายต้องเฝ้าระวัง โดยประเมินกันว่าแนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2552 นี้จะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจลดลง เหลือเพียง 1.2% การลงทุนและการบริโภคลดลง 5% อัตราการว่างงานมากถึง 0.9 – 1 ล้านคน นับเป็นแนวโน้มที่ทำให้ต้องตระเตรียมมาตรการตั้งรับกันอย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงอย่าง อุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก การผลิตอุปกรณ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง การผลิตสิ่งทอสิ่งถัก เครื่องแต่งกาย ฟอกหนังสัตว์ และรองเท้า การผลิตเครื่องจักร การผลิตเคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง และผลิตภัณฑ์พลาสติก การผลิตเครื่องเรือน เครื่องประดับ รวมถึงอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่โดนพิษจากการปิดสนามบินช่วงปลายเดือน พฤศจิกายนที่ผ่านมาเข้าอย่างจัง

ด้วยความเป็นห่วง คนทำงานและผู้ประกอบการที่จะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถอถอยเช่นนี้ JobsDB.com จึงสอบถามไปยังกระทรวงแรงงานถึงมาตรการการรับมือกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ จะส่งผลกระทบต่อการว่างงานของคนไทยในปี 2552 ทั้งนี้ นายสมชาย ชุ่มรัตน์ ปลัดกระทรวงแรงงานได้ เปิดเผยว่า ข้อมูลการเฝ้าระวังสถานการณ์การเลิกจ้างของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานใน ช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 5 มกราคม 2552 ระบุว่า มีสถานประกอบการเลิกจ้างลูกจ้างไปแล้ว 698 แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 55,549 คน และมีแนวโน้มถูกเลิกจ้างอีก 357 แห่ง เป็นจำนวน 204,264 คน

เพื่อให้การเลิกจ้างเป็นทางออกสุดท้ายของผู้ประกอบการ ท่านปลัดได้แนะแนวทางการบรรเทาปัญหาการเลิกจ้างไว้ 3 มาตรการด้วยกัน

1. มาตรการลดค่าใช้จ่ายโดยความร่วมมือของลูกจ้าง แบ่งเป็น มาตรการลดค่าใช้จ่ายด้านบริหาร ซึ่งเป็นมาตรการที่นายจ้างควรพิจารณานำมาเป็นอันดับแรก เพื่อให้ส่งผลกระทบต่อลูกจ้างน้อยที่สุดได้แก่ นโยบายประหยัดพลังงาน ลดค่าใช้จ่ายด้านการบริหาร รวมทั้งลดต้นทุนต่าง ๆ เท่าที่จำเป็น เป็นต้น

อีกทางหนึ่งคือ มาตรการลดค่าใช้จ่ายทางด้านแรงงาน โดยต้องเลือกมาตรการที่มีผลกระทบต่อลูกจ้างน้อยที่สุดมาใช้ก่อน ดังนี้

ลด หรือยกเลิกการทำงานล่วงเวลาหรือการทำงานในวันหยุด ให้ลูกจ้างใช้วันลาตามสิทธิที่มีอยู่ ให้ลูกจ้างได้สับเปลี่ยนวันหยุดโดยทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน ลดชั่วโมงการทำงานในแต่ละวันหรือลดจำนวนวันในแต่ละสัปดาห์ ให้สิทธิลูกจ้างลาหยุดโดยไม่ได้รับค่าจ้างหรือได้รับค่าจ้างบางส่วน แต่ยังคงได้รับสวัสดิการตามปกติ ลดการทำงานกะลง ลดค่าใช้จ่ายส่วนที่เป็นสวัสดิการที่มีผลกระทบต่อลูกจ้างน้อยที่สุดก่อน เช่นการจัดทัศนาจร การสังสรรค์ประจำปี เพิ่มค่าจ้างประจำปีในสัดส่วนที่น้อยลง หรือถ้าจำเป็นอาจไม่เพิ่มค่าจ้างประจำปี แต่หากยังมีความจำเป็นอยู่อีก อาจลดค่าจ้างลงโดยเริ่มจากการลดค่าจ้างของผู้ที่ได้รับค่าจ้างสูงก่อน หรือลดค่าจ้างของลูกจ้างระดับสูงในอัตราที่มากกว่าลูกจ้างระดับต่ำ

2. มาตรการปรับปรุงการบริหารงานบุคคลให้เหมาะสมกับสถานการณ์ อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนโยกย้ายหน้าที่ของลูกจ้างเพื่อวางแผนกำลังคนให้ เหมาะสมกับกำลังการผลิต มีการพัฒนาศักยภาพลูกจ้างเพื่อเพิ่มผลผลิต เพิ่มขวัญกำลังใจ และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่หน่วยงานนั้น ๆ รวมทั้งการเตรียมความพร้อมเพื่อเปลี่ยนสายงานกรณีแผนกงานเดิมอาจต้องถูกยุบ เลิก โดยผู้ประกอบการสามารถประสานกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อให้ความช่วยเหลือใน การพัฒนาฝีมือลูกจ้างได้ หรือหากมีความจำเป็นที่จะต้องเลิกจ้าง ผู้ประกอบการควรเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการหางานใหม่ โดยสนับสนุนลูกจ้างให้มีโอกาสฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมในการหางานใหม่ หรือประสานกรมจัดหางานเพื่อหาตำแหน่งงานว่างรองรับลูกจ้างที่คาดว่าจะถูก เลิกจ้าง

3. มาตรการในการลดจำนวนลูกจ้าง หาก ได้พิจารณาตามมาตรการทั้งสองประการที่กล่าวมาแล้ว แต่ยังมีความจำเป็นต้องลดจำนวนลูกจ้างลงอีก ให้พิจารณาเลิกจ้างโดยยึดหลักความเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย โดยอาจจะงดรับลูกจ้างเพิ่ม จัดโครงการเกษียณก่อนอายุที่กำหนด หรือโครงการสมัครใจลาออก โดยให้เงินช่วยเหลือตามที่ตกลงกัน ซึ่งนายจ้างจะต้องคำนึงถึงระยะเวลาให้ลูกจ้างหางานใหม่ตามสมควรด้วย และสุดท้าย หากต้องเลิกจ้างจริง ๆ ให้เลิกจ้างลูกจ้างที่เข้าทำงานหลักสุดก่อน ลูกจ้างที่มีประวัติการลาขาดงาน มาสายมาก ลูกจ้างที่ฝ่าฝืนข้อบังคับในการทำงานมากที่สุด ลูกจ้างที่มีพฤติกรรมและอุปนิสัยที่เป็นผลเสียต่อการทำงาน ลูกจ้างที่มีความสามารถและผลงานน้อยที่สุด ลูกจ้างที่ได้รับความเดือดร้อนทางครอบครัวน้อยที่สุด เป็นต้น

อย่าง ไรก็ดี หากหน่วยงานมีการชี้แจงให้พนักงานทุกคนตระหนักถึงวิกฤติการณ์ในครั้งนี้ อย่างจริงจังและร่วมมือร่วมใจกันทำงานในหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด ช่วยกันลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็น รวมถึงนายจ้างมีการบริหารจัดการด้วยความไม่ประมาทแล้วละก็ เชื่อว่าจะสามารถผ่านพ้นอุปสรรคในครั้งนี้ไปได้ในที่สุด



S-M-I-L-E ไม่ใช่แค่ยิ้ม

พนักงานบริการลูกค้า

ใน งานบริการ สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่พนักงานบริการทุกคนถูกฝึกมา คือให้ยิ้มแย้มกับลูกค้า ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ให้ยิ้มไว้แล้วจะดีเอง วันนี้เราจึงขอนำเสนอหลักในการบริการที่จะทำให้คุณจดจำได้อย่างง่าย ๆ ด้วยความว่า S-M-I-L-E ที่ไม่ใช่แค่ยิ้ม มาติดตามพร้อมกันเลยนะคะ


S = Stress Tolerance

คุณ ต้องมีความอดทน อดกลั้นเมื่อเผชิญกับสภาวะความเครียดที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะมาจากหัวหน้างานของ คุณ เพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง ลักษณะงาน หรือลูกค้า เช่น หากคุณไม่พอใจที่หัวหน้างานพูดจาไม่รู้เรื่องเวลามอบหมายงาน ซึ่งความโกรธหรือความไม่พอใจเหล่านี้เองที่คุณควรเก็บความรู้สึกนี้ไว้ โดยไม่ควรระบายอารมณ์กับลูกค้าเมื่อมีลูกค้ามาสอบถามรายละเอียดบางอย่างจาก คุณ แต่คุณควรแสดงสีหน้า กิริยาท่าทางที่ยิ้มแย้มแจ่มใสเสมอเมื่อพบลูกค้า

M = Motivation

เริ่ม จากการที่คุณมีหัวใจหรือความต้องการที่จะปรับพฤติกรรมของตนเอง ให้มีพฤติกรรมหรือความสามารถจิตสำนึกในการให้บริการ ซึ่งคุณจะต้องมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์เพื่อให้ผลงานของตนเองได้รับการยอมรับ และนำไปปฏิบัติได้ ทั้งนี้แรงจูงใจนี้เองจะทำให้คุณมีความพร้อมเสมอที่จะให้บริการแก่ลูกค้า พร้อมอาสาช่วยเหลือลูกค้าในสถานการณ์ต่าง ๆ

I = Integrity

คุณ ต้องมีความซื่อสัตย์ต่องานหรืออาชีพของคุณเอง โดยการให้ข้อมูลทั้งด้านบวกและด้านลบจากการใช้สินค้าหรือบริการจากคุณ มิใช่ว่าจะให้เพียงแต่ข้อมูลด้านบวกหรือที่เป็นประโยชน์เพียงอย่างเดียวเท่า นั้น การให้ข้อมูลทั้งสองแง่มุมนี้จะให้ลูกค้ามีทางเลือกที่จะตัดสินใจเลือก บริการที่ดีที่สุดและเหมาะสมกับลูกค้ามากที่สุด และคุณรู้ไหมว่าลูกค้าบางรายอาจตัดสินใจใช้สินค้าและบริการจากคุณเนื่องจาก พวกเขาพอใจที่ได้รับข้อมูลด้านลบจากคุณก็เป็นได้

L = Listening

คุณ ควรรับฟังปัญหาหรือข้อร้องเรียนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากลูกค้าอย่างเต็มใจ ไม่ตีโพยตีพายหรือแสดงสีหน้าและกิริยาท่าทางแบบไม่พอใจลูกค้า ขอให้คุณรับฟังและพร้อมที่จะให้ข้อมูลหรือเหตุผล กรณีที่ลูกค้าไม่พอใจในสินค้าหรือบริการต่าง ๆ และหากสถานการณ์ระหว่างคุณกับลูกค้ายังไม่ดีขึ้น ขอให้คุณแสดงให้ลูกค้าเห็นว่าคุณรู้สึกเสียใจและจะไม่มีเหตุการณ์เช่นนี้ เกิดขึ้นในคราวต่อไป บางครั้งการยอมรับในปัญหานั้น ๆ ทั้ง ๆ ที่ตนเองไม่ใช่ผู้ผิด อาจเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่จะยุติปัญหาที่เกิดขึ้น

E = Energetic

ความ กระตือรือร้นจะทำให้คุณแสวงหาวิธีการหรือเทคนิคในการให้บริการแก่ลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าได้รับสินค้าและบริการที่ดีที่สุด รวมไปถึงจะทำให้คุณขวนขวายที่จะเรียนรู้ระบบงานหรือขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ อยู่เสมอเพื่อว่าคุณจะได้มีข้อมูลที่พร้อมและถูกต้องเมื่อลูกค้ามาสอบถามราย ละเอียดต่าง ๆ จากคุณ

ด้วยหลัก S-M-I-L-E นี้จะทำให้คุณเป็นผู้ที่ลูกค้ากล่าวถึงในทางที่ดี ชอบและพอใจที่จะมาพบคุณ ลูกค้าพร้อมที่จะมาใช้สินค้าและบริการจากคุณ และระดับความพึงพอใจนี้เองที่หลาย ๆ องค์การได้นำมาเป็นตัวชี้วัด ผลการทำงานตัวหนึ่งที่จะสะท้อนถึงผลการปฏิบัติงานของคุณ



ที่มา : http://hospital.moph.go.th




1. อยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการเพิ่มศักยภาพผู้ว่างงานเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมในชุมชน ว่ามีรายละเอียดอย่างไร
ตอบ ดูได้จากหน้าแรกของเว็บไซต์ http://www.tonkla-archeep.com หัวข้อ รายละเอียดโครงการเพิ่มศักยภาพผู้ว่างงานเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมในชุมชน
2. ผู้ที่สามารถสมัครฝึกอบรมตามโครงการฯ ได้ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
ตอบ

1. เป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย

2. มีอายุ 18-60 ปี นับถึงวันสมัครฝึกอบรม

3. เป็นผู้ว่างงานตามรายละเอียดของโครงการฯ ดังนี้

3.1 ผู้ว่างงานที่สนใจฝึกอบรมอาชีพ รวมทั้งประชาชนผู้สนใจเข้ารับการอบรม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำความรู้กลับไปใช้หมู่บ้านชุมชนท้องถิ่น

3.2 ผู้ถูกเลิกจ้างแรงงานจากภาคอุตสาหกรรมและประสงค์จะเพิ่มพูนทักษะมากขึ้นและ หลากหลาย เพื่อพัฒนาและยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงานของตนเอง

3.3 ผู้สำเร็จการศึกษา ให้มีความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงานอย่างมีคุณภาพ

3. ถ้าสนใจสมัครเข้าฝึกอบรมจะต้องทำอย่างไร
ตอบ สามารถสมัครผ่าน Internet ได้ที่เว็บไซต์ http://www.tonkla-archeep.com หรือสมัครผ่านจุดฝึกอบรมต่างๆ ทั่วประเทศ
4. เปิดรับสมัครเมื่อไหร่

ตอบ

โครงการฯจะจัดให้มีการลงทะเบียนเข้ารับการฝึกอบรมทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง ครั้งละไม่น้อยกว่า 7 วัน

ในการลงทะเบียนเข้ารับการฝึกอบรม ผู้สมัครสามารถเลือกหลักสูตรฝึกอบรมได้ไม่เกิน 5 หลักสูตร

ใน แต่ละเดือนระบบสารสนเทศของโครงการฯจะทำการสุ่มคัดเลือกผู้เข้าฝึกอบรมในแต่ ละหลักสูตรและช่วงเวลาของหลักสูตรที่ผู้สมัครได้ทำการเลือกไว้

ตลอด ระยะเวลาของโครงการฯ ผู้สมัครเข้าฝึกอบรมหนึ่งคนจะมีสิทธิ์ได้เข้าฝึกอบรมเพียงหนึ่งหลักสูตรเท่า นั้น เมื่อการสุ่มคัดเลือกผ่านช่วงเวลาของหลักสูตรที่ผู้สมัครทำการเลือกไว้ไป แล้ว

ผู้สมัครที่ยังไม่ได้รับการคัดเลือก เข้าอบรมสามารถสมัครเข้ามาเลือกหลักสูตรฝึกอบรมใหม่ได้อีกเมื่อโครงการฯ ประกาศเพิ่มเติมหลักสูตรใหม่

หลักสูตรที่ ประกาศใช้ในการรับลงทะเบียนในเดือนมี.ค. 52 นี้ เป็นหลักสูตรที่ใช้ฝึกอบรมเดือนเม.ย. พ.ค. และ มิ.ย. 52 กำหนดรับลงทะเบียนมีดังนี้

วัน-เดือน
รายการ
ครั้งที่๑
18-31 มี.ค. 52
18-24 มี.ค. 52 จัดให้มีการลงทะเบียนรับสมัคร (Key in) ทั่วประเทศ 7 วัน
25 มี.ค. 52 คัดเลือกผู้เข้าฝึกอบรมโดยวิธีสุ่ม
26 มี.ค. 52 ประกาศรายชื่อผู้เข้าฝึกอบรม (พร้อมชื่อผู้สำรอง) ทาง e-mail, internet, SMS และประกาศติดที่สถานที่ฝึกอบรมและสถานที่ราชการที่เกี่ยวข้อง
27-29 มี.ค. 52 ผู้ฝึกอบรมรายงานตัวที่สถานที่ฝึกพร้อมแสดงบัตรประจำตัวประชาชน
30 มี.ค. 52 ประกาศรายชื่อให้ผู้ได้สำรองไปรายงานตัว
30-31 มี.ค. 52 ผู้ได้สำรองรายงานตัวที่สถานที่ฝึกพร้อมแสดงบัตรประจำตัวประชาชน
1 เม.ย.52 เริ่มฝึกอบรม

ครั้งที่ 2

ติดตามกำหนดการครั้งต่อไปได้จากเว็บไซต์ http://www.tonkla-archeep.com ในเดือนเมษายน 52

5. ผู้สมัครฝึกอบรม สามารถสมัครฝึกอบรมได้กี่รอบ
ตอบ ผู้ สมัครสามารถสมัครฝึกอบรมได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น โดยหากไม่ได้รับคัดเลือกเข้าฝึกอบรมในครั้งแรก ผู้สมัครสามารถเข้ามาเปลี่ยนแปลงหลักสูตรฝึกอบรมที่เลือกไว้ได้
6. หลักสูตรที่จะเปิดฝึกอบรมมีหลักสูตรใดบ้าง
ตอบ ดูรายละเอียดได้ที่ ปุ่มตรวจสอบหลักสูตรฝึกอบรม
7. มีข้อแนะนำในการเลือกหลักสูตรฝึกอบรมอย่างไรและมีหลักเกณฑ์อย่างไร

ตอบ

1. ควรเลือกหลักสูตรที่ตรงกับพื้นฐานอาชีพหรือตรงกับพื้นฐานความรู้ของท่าน

2. การเลือกหลักสูตรเฉพาะทางที่เป็นเชิงเทคนิคมาก ผู้สมัครฝึกอบรมควรมีความรู้พื้นฐานมาบ้าง

เกณฑ์ในการเลือกหลักสูตร

1. หลักสูตรที่ท่านเลือก จะต้องมีลู่ทางในการประกอบอาชีพตรงตามที่ท่านสนใจจะไปประกอบอาชีพในอนาคตหลังจากจบหลักสูตร

2. หลักสูตรที่ท่านเลือก จะต้องมีจุดฝึกอบรมอยู่ในจังหวัดตามที่อยู่ปัจจุบันหรือตามภูมิลำเนาของท่าน

8. ผู้สมัครฝึกอบรมสามารถเลือกหลักสูตรฝึกอบรมได้กี่หลักสูตร

ตอบ ผู้สมัครฝึกอบรมสามารถเลือกหลักสูตรฝึกอบรมได้ 5 หลักสูตร ที่ตรงตามเกณฑ์ในการเลือกหลักสูตร ข้อ 1 และข้อ 2 ในคำตอบข้อ 7

(โดย ผู้สมัครฝึกอบรมสามารถเลือกหลักสูตรที่ต้องการเข้าฝึกอบรมเป็นชื่อหลักสูตร เดียวกันทั้ง 5 หลักสูตรได้แต่ต้องเป็นหลักสูตรที่มีการจัดฝึกอบรมคนละรุ่น)

และ หากได้รับคัดเลือกเข้าฝึกอบรม ผู้สมัครจะได้รับคัดเลือกให้เข้าฝึกอบรมเพียงหลักสูตรเดียวเท่านั้นจากหลัก สูตรใดหลักสูตรหนึ่งที่ได้เลือกไว้

9. โครงการฯ มีเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้สมัครฝึกอบรมอย่างไร
ตอบ จะทำการสุ่มจำนวนผู้สมัครฝึกอบรมทั้งหมดที่สมัครในแต่ละรอบมาฝึกอบรม
10. ผู้สมัครสามารถติดตามผลการคัดเลือกเข้าฝึกอบรมได้ที่ไหน เมื่อไหร่
ตอบ สามารถติดตามผลการคัดเลือกเข้าฝึกอบรมได้จากเว็บไซต์ http://www.tonkla-archeep.com ตามกำหนดการดังนี้

รอบที่ 1 รับสมัคร 18-24 มี.ค. 52 ประกาศผลผู้ได้รับคัดเลือก 26 มี.ค. 2552

การเปิดรับสมัครครั้งต่อไปให้ติดตามข่าวสารที่ http://www.tonkla-archeep.com ในเดือนเมษายน 2552

11. หากดูประกาศผลผู้ได้รับคัดเลือกเข้าฝึกอบรมแล้ว ได้รับคัดเลือกจะต้องไปรายงานตัวที่ใดและใช้หลักฐานอะไรบ้าง
ตอบ สามารถไปรายงานตัวได้ที่จุดฝึกอบรมของหลักสูตรที่ผู้สมัครได้รับคัดเลือกในวันที่ 27-29 มี.ค. 52 โดยนำบัตรประจำตัวประชาชนไปแสดง
12. หากมีการสมัครไปแล้วและได้กรอกข้อมูลผิดพลาด หรือ ต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนตัว สามารถแจ้งแก้ไขได้ที่ใด
ตอบ โครงการฯ จะทำการแก้ไขข้อมูลให้เฉพาะผู้สมัครฝึกอบรมที่ได้รับคัดเลือกเข้าฝึกอบรม แล้วเท่านั้นโดยสามารถแจ้งแก้ไขได้ที่สถาบันฝึกอบรมที่ท่านได้รับคัดเลือก เข้าฝึกอบรม


การแข่งขันในตลาดแรงงานปัจจุบันมีความเข้มข้นขึ้นทุกวัน คนเก่งเท่านั้นที่จะได้โอกาสเติมเต็มตำแหน่งงานว่างในบริษัทที่มีชื่อเสียงและมีความมั่นคง พูดอย่างนี้หลายคนอาจจะท้อใจว่า ถ้าเรียนไม่เก่ง เกรดไม่ดีก็จะหางานทำ ไม่ได้ใช่ไหม ความจริงคำว่า คนเก่ง ไม่ได้หมายถึง คนที่เรียนเก่งเท่านั้น เพราะคนที่เรียนเก่งอาจไม่สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ คนที่นายจ้างต้องการจะต้องเก่งในเรื่องอื่น ๆ ด้วย อยากทราบแล้วใช่ไหมว่าการเป็น คนเก่ง นั้นจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

บุคลิกดี

First Impression ก็เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้คุณได้งานหรือไม่ บุคลิกดี ไม่จำเป็นต้องสวย หล่อ เพียงแค่เป็นตัวของตัวเอง เป็นธรรมชาติ เป็นคนมีความมั่นใจในแบบฉบับของตัวเอง พูดจาฉะฉาน ฉลาดที่จะพูด คนที่มีบุคลิกดี ย่อมเด่นสะดุดตานายจ้าง และโอกาสที่คุณจะได้งานที่คุณสมัครนั้นก็มีสูงด้วย
ไหวพริบดี แก้ปัญหาไว


ใน ชีวิตเราย่อมต้องมีปัญหาผ่านเข้ามาให้เราได้แก้ไขและเรียนรู้ การฝึกคิดแก้ปัญหาบ่อย ๆ จะทำให้เรารู้เท่าทันปัญหา และสามารถหาทางแก้ไขได้อย่างรวดเร็วทันการณ์ และเมื่อเราได้โอกาสในการสัมภาษณ์งาน ก็ควรจะบอกให้นายจ้างทราบในประเด็นนี้ด้วย ว่าเราเคยมีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาที่น่าสนใจอย่างไรบ้าง เมื่อนายจ้างเห็นว่าคุณเป็นคนมีไหวพริบในการแก้ปัญหา คุณก็จะโดดเด่นขึ้นอันดับในใจของเขาแล้ว เพราะหากเขารับคุณเข้าทำงาน เขาสามารถมั่นใจได้ว่าคุณแก้ปัญหาเองเป็น โดยไม่ต้องแบกปัญหามาให้เขาแก้ไขให้ตลอดเวลา

มนุษย์สัมพันธ์ดี


ใคร ๆ ก็ชอบคนที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี เข้ากับคนอื่น ๆ ได้ง่าย ปรับตัวได้ง่าย เพราะในการทำงานนั้น เราไม่อาจทำงานได้เพียงลำพัง จำเป็นต้องอาศัยหลาย ๆ ฝ่ายร่วมกัน ดังนั้นคนที่จะทำงานกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น จำเป็นต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีด้วย

ใช้คอมพิวเตอร์เป็น


ด้วย ความที่โลกของเราก้าวหน้าไปมาก จะมัวแต่นั่งพิมพ์ดีดอยู่ก็คงจะไม่ทันคนอื่น เพราะคอมพิวเตอร์ช่วยให้การทำงานเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว คนทำงานสมัยใหม่จึงต้องมีความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมพื้นฐาน อย่างเช่น ไมโครซอฟท์ออฟฟิศ สำหรับการใช้งานสำนักงาน หรือหากต้องติดต่อลูกค้าก็จำเป็นต้องรับ-ส่งอีเมลได้ เป็นต้น

กระตือรือร้นในการทำงาน


นาย จ้างชอบคนมีไฟ มีพลังในการทำงาน ดังนั้นคุณต้องแสดงให้นายจ้างเห็นถึงความปรารถนาที่จะทำงานในหน่วยงานของเขา และพร้อมที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ให้กับบริษัทของเขา พาให้หน่วยงานของเขาก้าวหน้า ด้วยแผนงานใหม่ ๆ ที่คุณคิดขึ้นเพื่อให้บริษัทพัฒนาขึ้นเสมอ ๆ

มีวินัย


ความตรงต่อเวลาแสดงถึงความมีวินัยของบุคคลนั้น ความรับผิดชอบในหน้าที่การงานที่ได้รับมอบหมายเป็นอย่างดี การมาทำงานตรงเวลา ส่งงานตรงเวลา จะทำให้การดำเนินการไม่สะดุดติดขัด หรือเสียจังหวะในการส่ง-รับไม้ในขั้นตอนต่าง ๆ งานก็จะสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ไม่มีการเอาเปรียบหรือกินแรงใคร

อดทนต่อความเหนื่อยยาก


คน ที่หนักเอาเบาสู้ ไม่กลัวความลำบากย่อมจะสามารถฝ่าฟันอุปสรรคได้ดีกว่าคนที่ยอมแพ้และถอดใจ ง่าย ๆ คนเราถ้ากลัวความลำบากก็ไม่มีวันประสบความสำเร็จได้ คนที่มีความอดทนย่อมเป็นที่หมายปองของบริษัท เพราะเขาสามารถมั่นใจได้ว่า คนที่มีความอดทนจะไม่ทิ้งงานไปกลางคันหรือทำให้เขาได้รับความเดือนร้อนเสียหายอย่างแน่นอน

รู้จักบริหารข้อมูล


คนที่รู้จักบริหารข้อมูล ก็จะรู้ว่าข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องไหนควรจะเก็บไว้ที่ใด เรื่องไหนควรจะทิ้งไปบ้าง เวลาเจ้านายเรียกหาข้อมูลเรื่องไหนจะได้ค้นได้สะดวก รวดเร็วทันใจ แถมบนโต๊ะยังดูสะอาดตา เป็นระเบียบเรียบร้อยอีกด้วย

รู้ลึกในงานที่ทำ


ความ รู้เฉพาะด้านเป็นสิ่งที่จำเป็น การรู้ลึกรู้จริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ทำให้คุณได้เปรียบกว่าคนอื่น ๆ แล้ว ตอนที่คุณเรียน คุณอาจรู้แค่พื้นฐาน แต่หากคุณได้ลองศึกษาเพิ่มเติมก่อนสมัครงาน เช่น ค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต หรือหาซื้อหนังสือดี ๆ มาอ่านสักเล่ม คุณก็จะมีความรู้มากกว่าคนอื่น ๆ แล้ว ซึ่งจะทำให้คุณได้เปรียบ และมีโอกาสได้งานมากกว่า

รู้หลายภาษาย่อมได้เปรียบ


ภาษา อังกฤษเป็นสิ่งสำคัญในการทำงาน โดยเฉพาะบริษัทต่างชาติ หรือบริษัทที่ต้องติดต่อกับชาวต่างชาติ แต่ในบ้านเราก็ไม่ได้มีบริษัทต่างชาติเฉพาะที่ใช้ภาษาอังกฤษเท่านั้น บริษัทของจีน ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมันก็มีมาก หรือแม้จะทำงานในบริษัทฝรั่งหรือบริษัทคนไทย ก็อาจต้องติดต่อกับคนต่างชาติจากประเทศเหล่านั้น การมีความรู้หลาย ๆ ภาษาจะช่วยให้คุณมีตัวเลือกมากขึ้น

ทันโลกทันเหตุการณ์


ติดตาม ข้อมูลข่าวสารอยู่เสมอเพื่อให้คุณเป็นคนที่ทันสมัย คิดงานและนำเสนอผลงานได้เหมาะสมกับยุคสมัย ไม่ล้าหลัง ตกยุค และการรู้ความเคลื่อนไหวของเรื่องต่าง ๆ ยังทำให้คุณเข้ากับเพื่อนฝูงได้ง่าย คุยกันรู้เรื่อง นอกจากนั้น การคุยกันยังทำให้คุณได้รู้จักพูด รู้จักคิดมากขึ้น และที่สำคัญ ทำให้รู้จัก รู้นิสัยใจคอฝ่ายตรงกันข้ามดีขึ้นอีกด้วย


หาก คุณอยากเป็นคนเก่งในสายตานายจ้าง ลองปรับเปลี่ยนตนเองตามคำแนะนำข้างต้นกันดูนะคะ ทุกข้อที่กล่าวมาไม่ยากเกินความตั้งใจจริงของคุณอย่างแน่นอน


พนักงานขายที่ดีไม่ใช่คนที่กดดันคุณจนคุณต้องยอมซื้อสินค้านั้นในที่สุด แต่เป็นคนที่พยายาม
ทำความเข้าใจกับความต้องการของคุณ และอธิบายให้คุณเห็นถึงคุณสมบัติของสินค้าที่ตอบโจทย์ตรงกับ
ความต้องการของคุณ พวกเขาไม่ใช่คนที่ต้องการเงินจากคุณ แต่เป็นคนที่จะให้ความพึงพอใจกับคุณ
ต่างหาก


ในการสมัครงานก็เช่นกัน เมื่อสิ่งที่ต้องการจะขายนั้นคือ ตัวของคุณเอง กระบวนการสัมภาษณ์งานก็ เป็นการขายประเภทหนึ่ง ถ้าคุณไม่ได้เตรียมตัวมาเป็นอย่างดี คุณก็ไม่สามารถทำให้ผู้สัมภาษณ์เห็นถึงคุณสมบัติและข้อดีที่คุณมีได้ ซึ่งนั่นหมายความว่า คุณไม่สามารถจูงใจให้เขา “ซื้อ” สินค้าที่คุณนำเสนอได้


ผู้สมัครงานจำนวนมากไม่ได้เตรียมตัวสำหรับการพรีเซนต์ตัวเองมากพอ ถึงแม้ว่าการเขียนเรซูเม่ของเขาจะดูน่าสนใจ และแม้ว่าเขาแต่งกายดูดีน่าประทับใจ แต่ถ้าเขาไม่สามารถโน้มน้าวผู้สัมภาษณ์ให้เชื่อว่าเขาคือคนที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานนั้นมากที่สุดแล้วล่ะก็ เขาก็ไม่สามารถปิดการขายได้


ข้อมูล เกี่ยวกับตัวคุณที่ต้องเตรียม ได้แก่ ประวัติการทำงาน ทั้งงานเต็มเวลา งานล่วงเวลา และงานที่ทำในช่วงปิดเทอม ประวัติการทำงานอาสาสมัครหลังเลิกงานหรือในเวลาว่าง ประวัติการศึกษา ประวัติการทำกิจกรรม ประวัติการรับรางวัลต่าง ๆ ประวัติการเกณฑ์ทหารในกรณีที่คุณเป็นผู้ชาย ความสามารถทางภาษา และความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์


เมื่อคุณเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับตัวเองพร้อมแล้ว สิ่งต่อไปที่ผู้สัมภาษณ์ต้องการทราบก็คือ ทัศนคติของคุณ โดยคุณต้องเตรียมตัวสำหรับการตอบคำถามต่อไปนี้ด้วย


1. ความสำเร็จใดที่คุณภาคภูมิใจมากที่สุด เพราะอะไร

2. เคยทำสิ่งผิดพลาดหรือไม่ เกิดอะไรขึ้น และคุณได้เรียนรู้อะไรจากบทเรียนครั้งนั้น

3. คุณมีปฏิกิริยาต่อผู้มีอำนาจเหนือกว่าคุณอย่างไร ในที่นี้รวมถึง เจ้านาย ครูอาจารย์ และพ่อแม่ของคุณด้วย

4. กีฬาที่คุณชื่นชอบคืออะไร ทำไมคุณถึงชอบกีฬาชนิดนั้น คำตอบของคุณจะสะท้อนความเป็นตัวคุณออกมาว่าคุณเป็นคนที่ชอบเอาชนะ หรือเป็นคนที่ยอมแพ้อะไรง่าย ๆ คุณเป็นผู้แพ้ที่ดี หรือเป็นผู้ชนะที่แย่

5. เพื่อน ๆ ของคุณเป็นคนแบบไหน คุณคบเฉพาะเพื่อนที่มีนิสัยคล้ายกับคุณหรือว่า คุณชอบคบกับคนหลาย ๆ แบบ มีอะไรบ้างที่สามารถบั่นทอนความสัมพันธ์ของคุณกับเพื่อน หรือสิ่งที่จะทำให้คุณเลิกคบกับเพื่อนได้


6. ถ้าถามเพื่อนของคุณ หรือคนที่คุ้นเคยกับคุณ ให้บอกถึงความเป็นคุณ พวกเขาจะบอกว่าคุณเป็นคนอย่างไร


คำตอบของคำถามเหล่านี้จะสามารถบ่งบอกความเป็นตัวคุณได้เป็นอย่างดี ยิ่งคุณรู้จักตัวเองดีเท่าไร คุณจะสามารถนำเสนอจุดเด่นที่ตรงกับความต้องการของผู้สัมภาษณ์ได้มากเท่านั้น ดังนั้น ทำความรู้จักกับตัวเองให้มาก แล้วเตรียมคำตอบสำหรับคำถามที่ตอบยากเอาไว้ให้พร้อม ลองคิดถึงคำตอบแล้วมองย้อนกลับว่า ถ้าคุณเป็นผู้สัมภาษณ์คุณจะรู้สึกอย่างไรกับคำตอบนั้น เขาจะมองว่าคุณเป็นคนเช่นไร ใช่คนที่เขาต้องการหรือไม่ เพื่อที่คุณจะสามารถพรีเซนต์ตัวเองได้ตรงใจนายจ้างมากที่สุดนั่นเอง


ณรู้สึกเบื่องาน หรือเกลียดงานที่คุณทำอยู่ทุกวันหรือไม่??


ถ้าใช่....แล้วทำไมคุณถึงยังทนอยู่กับงานนั้น??


หลายคนที่ต้องอดทนกับงานที่ตัวเองเกลียด ด้วยเหตุผลที่ว่า เศรษฐกิจแบบนี้ มีงานทำดีกว่าตกงาน ถึงคุณจะเบื่อ ไม่พอใจ หรือกลัวที่จะออกจากงานก็ตาม คุณก็ต้องจำทนอยู่กับมันต่อไป
ต่อไปนี้เป็น 7 แนวคิดที่คุณจะหลุดพ้นจากความเบื่อหน่าย ทำงานที่คุณเกลียดด้วยความรู้สึก
ที่ดีขึ้น

1. อยู่กับความเป็นจริง

คุณไม่ควรออกจากงานถ้าคุณยังหางานใหม่ไม่ได้ เพราะอย่างน้อยคุณก็ยังมีงานทำ แม้ว่าคุณจะเกลียดมันก็ตาม อย่าคิดว่าคุณไม่มีทางเลือก ถ้าคุณยังไม่ได้ลงมือค้นหาหนทางใหม่ ๆ

2. เปลี่ยนทัศนคติ

หัน มามองงานของคุณในแง่ดี และนึกถึงข้อดีของงาน เช่น งานนี้ทำให้คุณมีโอกาสได้พบกับคนมากมาย และเป็นโอกาสอันดีที่คุณจะได้เพิ่มพูนทักษะต่าง ๆ มองที่โอกาสก้าวหน้า และมองไปที่อนาคต ดีกว่ามองว่า มันคืออุปสรรคปัญหา ที่กีดขวางความก้าวหน้าของคุณ

3. ค้นหาโอกาสที่ซ่อนอยู่

ถ้า มีงานบางอย่างที่คุณชอบทำมากกว่า และที่สำคัญคุณสามารถทำมันได้ดีด้วย นำเสนอตัวคุณด้วยความมั่นใจว่าคุณสามารถทำได้ดีกว่าคนอื่น ๆ นี่เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับตัวคุณได้ทำงานที่ท้าทายกว่าที่เป็นอยู่

4. หาให้เจอว่าคุณเกลียดอะไร

เมื่อ คุณรู้สึกเกลียดงานของคุณเสียเหลือเกิน คุณต้องตอบตัวเองให้ได้ว่าทำไมคุณถึงเกลียดงานนั้น หาสาเหตุที่แท้จริง เพื่อแก้ไขให้ตรงจุด แล้วคุณก็จะไม่ต้องวนเวียนอยู่ในวังวนเช่นเดิมอีก

5. ค้นหาสิ่งที่คุณชอบในสิ่งที่คุณเกลียด

แม้ ว่าตอนนี้คุณจะรู้สึกเกลียดงานของคุณ แต่เชื่อว่าคุณไม่น่าจะเกลียดงานทั้งหมด น่าจะมีบางอย่างที่คุณชอบทำอยู่บ้าง หรืออย่างน้อยคุณก็ต้องเคยชอบมันมาก่อน ไม่อย่างนั้นคุณคงไม่ตัดสินใจทำงานนี้ตั้งแต่แรกหรอกจริงไหม

6. ศึกษาจากคนที่ทำงานแบบคุณ

อาจไม่ใช่เพียงคุณคนเดียวที่เกลียดงานที่ทำ และคุณอาจไม่ใช่คนแรกที่รู้สึกเช่นนี้ การได้พูดคุยกับคนที่ทำงานแบบคุณ อาจทำให้คุณพบแนวคิดที่เป็นประโยชน์ในการทำงาน ซึ่งทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้

7. หาโอกาสทำในสิ่งใหม่ ๆ และท้าทายกว่าเดิม

คุณอาจต้องการเปลี่ยนงานเพราะรู้สึกว่างานที่คุณทำอยู่ไม่มีอะไรท้าทายคุณอีกแล้ว ลองหาโอกาสฝึกฝนทักษะใหม่ ๆ ด้วยตัวเองเรียนรู้เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่คุณชอบ พบปะผู้คนใหม่ ๆ หรือหาสิ่งที่ท้าทายให้ตัวเองได้เปลี่ยนบรรยากาศ เช่น อาสาช่วยงานในส่วนอื่นที่คุณสนใจ อาจช่วยให้คุณไม่จมอยู่กับความรู้สึกเกลียดงานได้ เพราะอย่างน้อยคุณก็ยังมีอย่างอื่นให้คิด ให้ทำอีกตั้งเยอะ


เห็นไหมว่าคุณไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนงาน แต่คุณก็ยังสามารถมีความสุขกับสิ่งที่เป็นอยู่ได้ ลองนำไปปรับใช้ดูนะครับ


คนจะเก่งหรือไม่เก่งนั้น อยู่ที่ "ทัศนคติ" ของแต่ละคน เวลาเจอโจทย์อะไรสักอย่าง บางคนบอกตัวเองว่าเราไม่เก่ง ทำไม่ได้หรอก มองไปก็เจอแต่ปัญหา อย่างนี้เรียกว่า "ปิดประตูความสำเร็จ" ตั้งแต่ยังไม่เริ่มต้นแต่คนเก่ง จะมีลักษณะบางอย่าง ที่แตกต่างจากคนไม่เก่ง ไม่ใช่ว่าเพราะเก่งเลยทำได้ เพราะไม่เก่งเลยทำไม่ได้


แต่มันคือ "ทัศนคติ" ที่แตกต่างกัน


ที่ญี่ปุ่นมีชั่วโมงเรียนวิ่งมาราธอน เด็กนักเรียนต้องวิ่งทางไกลระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร พวกที่เป็นนักกีฬา หรือเล่นกีฬาอยู่เป็นประจำ จะวิ่งได้ไม่เหนื่อย ในขณะที่อีกกลุ่มเป็นแบบวิ่งสั้น ๆ ได้ แต่ไกล ๆ ไม่ไหว กับอีกกลุ่มสุดท้าย คือ พวกวิ่งเหยาะ ๆ ให้มันหมดชั่วโมงไปด้วยความเบื่อหน่ายหากเปรียบเทียบกับการทำงานจะพบว่าในทุกองค์กรจะมีคนทั้ง 3 กุล่มอยู่ร่วมกัน ถึงแม้จะพยายามคัดแต่หัวกะทิมาแล้วก็ตาม ในกลุ่มคนเก่งด้วยกัน ก็ยังสามารถแบ่งได้อีก 3 กลุ่ม คือ

  • กลุ่มคนที่เก่ง มุ่งมั่นที่จะทำให้สำเร็จ
  • กลุ่มคนที่มีความสามารถปานกลาง ให้ทำก็ทำ และทำเท่าที่ทำได้
  • กลุ่มคนที่เป็นพวกอิดออด ไม่ยอมทำ และคิดว่าตัวเองทำไม่ได้


หากลองตั้งคำถามว่า คนเก่งทำไมถึงขยัน และคนไม่เก่งทำไมถึงอิดออด


เพราะคนเก่งหรือคนที่มีศักยภาพสูง จะมีความรู้สึกโดยธรรมชาติต่อสิ่งต่าง ๆ ว่า "น่าจะทำได้" ความรู้สึกเช่นนี้จะเป็นตัวผลักดันให้เกิดความมุมานะ อยากลองทำ คนที่รู้สึกว่าทำได้จึงมีความพยายามมากกว่าคนที่ไม่มีความรู้สึกนี้


ส่วนคนที่ไม่เก่ง เป็นเพราะบอกตัวเองอยู่ตลอดเวลาว่าไม่เก่ง จึงไม่เกิดแรงผลักดันให้มุมานะ หรือพยายามทำให้สำเร็จ


เมื่อไรก็ตามที่คนไม่เก่งเปลี่ยนความคิด ก็สามารถประสบความสำเร็จได้เช่นกัน ยกตัวอย่างจากชั่วโมงวิ่งมาราธอนของเด็กนักเรียนญี่ปุ่น


มีอยู่วันหนึ่ง เด็กที่เกลียดชั่วโมงวิ่งมาราธอนเป็นชีวิตจิตใจ ตื่นเช้าขึ้นมาและพบว่าตัวเองเปลี่ยนแปลงไป ตัวสูงใหญ่ ขายาวขึ้น กล้ามเนื้อแข็งแรงเป็นมัด ๆ


วันนั้นเขาบอกกับตัวเองว่า "คอยดู ฉันจะวิ่งมาราธอนให้แหลกเลย รับรองเพื่อน ๆ ต้องตกใจแน่"


แต่เมื่อเขาออกวิ่ง… เสียงนาฬิกาปลุกก็ดังขึ้น


ถึงแม้ว่ามันเป็นเพียงแค่ความฝัน แต่มันก็ทำให้เขาก็เกิดแรงขับบางอย่าง ที่อยากจะทำให้มันเป็นความจริงให้ได้


เขาเริ่มเปลี่ยนความคิด เชื่อมั่นว่าเขาทำได้ ตั้งแต่นั้นมาเขาก็วิ่งได้ระยะทางไกลขึ้น แข็งแรงขึ้น และไม่เหนื่อยง่าย จนเพื่อน ๆ แปลกใจเมื่อคนเราทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้สำเร็จ ความมั่นใจก็จะมีเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นแรงขับให้เกิดความมุมานะทำสิ่งอื่น ๆ ให้สำเร็จอีกต่อ ๆ ไป


เพราะเหตุนี้เอง จึงดูเหมือนว่า "คนเก่ง" ไม่ว่าจะทำอะไร ก็ประสบความสำเร็จไปเสียทุกอย่าง


เห็นไหมว่า ความคิดของเราเอง ที่เป็นตัวกำหนดให้เรา "แพ้" หรือ "ชนะ"


เพียงคิดว่า "น่าจะทำได้" หรือ "ไม่น่าจะทำได้" ก็เป็นตัวกำหนดการกระทำที่แตกต่างของเราแล้ว


ความรู้สึกว่า "น่าจะทำได้" นี่แหละที่ทำให้เกิดช่องว่างระหว่าง "คนเก่ง" และ "คนไม่เก่ง"